Integrated Audit and Management in practices ตอน 2

ท่านผู้อ่านครับ ใน http://www.itgthailand.com ผมมีเรื่องที่ตั้งเป็นหมวดหมู่ไว้แลกเปลี่ยนสารสนเทศกับผู้อ่าน รวม 8 หมวดหมู่ด้วยกันนั้น ในที่สุดหมวดหมู่เรื่องต่าง ๆ ตามที่ผมได้แบ่งเอาไว้ให้ท่านผู้อ่านสามารถเลือกติดตามได้ตามที่ท่านสนใจนั้น เมื่อท่านได้อ่านมาถึงในช่วงเวลานี้ ก็จะเริ่มมีข้อสังเกตว่า หมวดหมู่ต่าง ๆ ในแต่ละหัวข้อเริ่มมีความสัมพันธ์และเกี่ยวเนื่องกันมากยิ่งขึ้น +++

อย่างเช่น เรื่องที่เกี่ยวกับ IT Audit และ Non IT Audit เรื่องทั้ง 2 ได้แยกออกเป็น 2 หมวดหมู่อย่างชัดเจนตั้งแต่แรกนั้น แต่ก็ยังไม่ปรากฎว่าผมได้อธิบายแ่ต่ละหมวดหมู่ดังกล่าวที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบภายในออกจากกันเลยดังที่ตั้งใจไว้แต่ต้น…

ทั้งนี้เพราะผมต้องการให้ท่านเห็นภาพการตรวจสอบภายในที่มีวัตถุประสงค์หลัก ๆ 2 ประการด้วยกันคือ การตรวจสอบเพื่อสร้างความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผล (Assurance) และให้คำปรึกษา (Consultant) ที่เกี่ยวข้องกับความน่าเชื่อถือได้ของงบการเงิน และรายงานต่าง ๆ รวมทั้งการบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายในเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือได้ต่อกระบวนการบริหารและการดำเนินงานขององค์กรว่า รายงานทางการเงินและรายงานที่มิใช่การเงิน มีความถูกต้อง และหากกระบวนการบริหารซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยง ทั้งทางด้าน IT และ Non – IT ซึ่งมีผลกระทบต่อธุรกิจ และเป้าหมายต่าง ๆ ขององค์กร ผู้ตรวจสอบภายในก็จะให้คำแนะนำ และให้คำปรึกษาต่อผู้มีผลประโยชน์ร่วมที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ ผู้ตรวจสอบภายในจะต้องปฏิบัติงานวิชาชีพการตรวจสอบภายในให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลตามที่ปรากฎใน International Standards for The Professional Practice of Internal Auditing ซึ่งมีการปรับปรุงเพิ่มเติมและแก้ไขโดยคณะกรรมการวิชาการและวิจัยในระดับสากล ซึ่งประเทศไทยก็ได้ประยุกต์ในการนำหลักการดังกล่าวมาใช้เป็นมาตรฐานการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบภายใน ซึ่้งสอดคล้องกับแนวทางการกำกับของสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายใน พ.ศ. 2546 ซึ่งท่านสามารถติดตามรายละเอียดได้จาก ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายใน พ.ศ. 2546

จากแผนภาพ Control Framework ครั้งที่แล้ว ท่านผู้อ่านจะได้เห็นภาพที่มาของงบการเงิน และรายการทางบัญชีที่สำคัญที่ต้องผ่านกระบวนการปฏิบัติการของระบบงานต่าง ๆ อย่างเป็นลำดับ และผสมผสานกัน ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับระบบการประมวลผลทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรืออาจจะกล่าวได้อีกมุมหนึ่งว่า เกี่ยวข้องกับระบบข้อมูลและสารสนเทศที่ผ่านกระบวนการควบคุมในลักษณะอัตโนมัติ (Automated Application Controls) ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบงานต่าง ๆ ทางด้านความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศอย่างเป็นกระบวนการ ตั้งแต่ Input – Process – Output Control รวมทั้งผลกระทบของการเชื่อมโยงของการประมวลผลดังกล่าวข้างต้น ที่เชื่อมโยงข้ามระบบงานและข้ามสายงานทั่วทั้งองค์กร รวมทั้งบางส่วนจะเกี่ยวข้องกับการควบคุม โดยระบบ Manual หรือด้วยบุคคล (People) ซึ่งเชื่อมโยงและโยงใยไปยังขั้นตอนการประมวลผล ในการประมวลงานทางด้าน Input – Process – Output ในแต่ละระบงานทั่วทั้งองค์กร (Interface Controls)

Risk Map ด้าน Control and Integrated Audit

นอกจากนั้น การควบคุมระบบงานดังกล่าว ยังเชื่อมโยงและเกี่ยวข้องกับระบบ Infrastructure ด้านสารสนเทศ ที่เกี่ยวข้องกับ Database, Platform, Operating System และ Network (โปรดดูแผนภาพที่แสดงในข้อเขียนครั้งที่แล้วอีกครั้ง) ซึ่งในเรื่องนี้จะเกี่ยวข้องกับ IT General Controls โดยอธิบายสั้น ๆ ได้ว่า เป็นการติดตามและตรวจสอบการควบคุมทางด้าน Change Development Security, Computer Operations และ IT Governance +++

ท่านผู้บริหารและผู้ตรวจสอบครับ เมื่อท่านได้อ่านมาถึงช่วงนี้ และได้ดูภาพประกอบจากครั้งที่แล้ว ท่านคงจะเห็นด้วยกับผมนะครับว่า การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของงบทางการเิงิน และรายงานทางการเงิน และรายงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารธุรกิจและการจัดการองค์กรนั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้ตรวจสอบภายในจะปฏิบัติงานตรวจสอบทั่วไป โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบของความเสี่ยงทางด้าน IT Risk ที่ีมีต่อ Business Process ที่นำผลกระทบไปสู่ Business Objective ในทุกมุมมองของการบริหารจัดการ ตามหลักการของ Business Balance Score Card และ Information Balance Score Card

การเชื่อมโยงกระบวนการปฏิบัติงานการตรวจสอบ Integrated Audit

หากท่านพิจารณาว่า การตรวจสอบในลักษณะดั้งเดิม (Conventional Audit) เป็นการตรวจสอบในลักษณะ SILO – Based โดยการแยกการตรวจสอบด้าน IT และการตรวจสอบด้าน Non – IT โดยขาดความเข้าใจในความเสี่ยงโดยรวม โดยเฉพาะทางด้าน IT Risk ที่มีผลต่อ Financial Risk และ Business Risk นั้นจะเป็นการเหมาะสม

นั่นคือ การก้าวไปสู่การตรวจสอบในลักษณะ Integrated Audit และ Integrated Management ตามที่ได้กล่าวไว้ในข้อเขียนครั้งที่แล้ว ซึ่งผมจะอธิบายและขยายความในรายละเอียดต่อ ๆ ไป ในช่วงเวลานี้ อาจจะมีท่านผู้ตรวจสอบ และท่านผู้บริหารบางท่าน อาจมีมุมมองที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญได้นั้น คงต้องขอความกรุณาได้โปรดติดตามข้อเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่จะอธิบายรายละเอียดในหลายมุมมองต่อไปครับ

Integrated Audit และ Integrated Management เป็นส่วนหนึ่งของ Integrated GRC ครับ +++

1 Responses to Integrated Audit and Management in practices ตอน 2

  1. saeki พูดว่า:

    จากหมวดหมู่ที่มีอยู่ ดูโดยรวมแล้วเกือบทุกเรื่องค่อนข้างเกี่ยวเนื่องกันอย่างที่อาจารย์พูดถึงเลยนะคะ โดยเฉพาะบางเรื่องนั้นอย่างเรื่อง การตรวจสอบ เรื่อง CG, เรื่อง GRC แทบแยกจากกันไม่ได้เลยค่ะ

ใส่ความเห็น