ผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของชาติ : ปัญหาอธิปไตยไซเบอร์ และแนวทางการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ ตอนที่ 2

ขอขอบคุณ อาจารย์ปริญญา หอมเอนก ประธานกรรมการบริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด ที่ได้อนุญาตให้ผมนำผลการวิจัยกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ พรบ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของชาติ พ.ศ. 2562 และ พรบ. ที่เกี่ยวข้อง และ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) และยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงไซเบอร์แห่งชาติ (พ.ศ. 2560 – 2564) ในหัวข้อเรื่อง “ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของชาติ ปัญหาอธิปไตยไซเบอร์ ผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติในระยะยาว และแนวทางการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ” มาเผยแพร่ในเว็บไซต์ http://www.itgthailand.com ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับที่ผมเคยเขียนไว้ในหัวข้อ “ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ กับปัจจัยเอื้อที่ก่อให้เกิดความสำเร็จแบบบูรณาการ (Cyber Security Strategy and Enablers)” และผมเห็นว่าการวิจัยของอาจารย์ปริญญา หอมเอนก มีประโยชน์อย่างยิ่งยวดที่สามารถสร้างความเข้าใจในระดับกว้างและลึก ที่เกี่ยวข้องกับ Cyber Security ของชาติเป็นอย่างยิ่ง

ต่อจากนี้จะเป็นเนื้อหาต่อจากครั้งที่แล้วนะครับ

คำนำ

เอกสารวิจัย เรื่อง ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของชาติ ปัญหาอธิปไตยไซเบอร์ ผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติในระยะยาว และ แนวทางการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ จัดทำขึ้น โดยได้แรงบันดาลใจจากประสบการณ์ทำงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity) และ ได้สังเกตว่า กระบวนการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทยที่ผ่านมา มุ่งเน้นแต่เพียง การปูองกันการโจมตีทางกายภาพต่อระบบอินเทอร์เน็ตและเครือข่าย ประกอบกับโลกยุคปัจจุบัน ที่แพลตฟอร์มต่างชาติและสื่อสังคมออนไลน์ (Social media) เข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการตัดสินใจของคนในชาติเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สอดคล้องกับความตื่นตัวของทั่วโลกที่เห็นว่าปัญหาดังกล่าวนำไปสู่การรุกรานทางความคิดและจิตใจของคนในชาติ หรือที่เรียกว่า ปัญหา “อธิปไตยไซเบอร์” หรือ “Cyber sovereignty ” ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่าง ๆ ตลอดจนส่งผลกระทบถึงความมั่นคงของชาติหรือ “National Security” ผู้วิจัยจึงเห็นว่า การศึกษาวิจัยในครั้งนี้จะช่วยให้ประเทศไทยเข้าใจปัญหาและผลกระทบของ การรุกราน “อธิปไตยไซเบอร์” มากขึ้น เพื่อให้สามารถนำกรอบแนวคิดที่ได้จากการศึกษา กรอบการจัดทำยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหา “อธิปไตยไซเบอร์” ตามแนวคิดที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล มาปรับปรุงยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) และยุทธศาสตร์การรักษา ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2564 ได้ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในที่สุด

(ปริญญา หอมเอนก)
นักศึกษาวิทยาลัยปูองกันราชอาณาจักร
หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๒ ผู้วิจัย

กิตติกรรมประกาศ

ในนามของผู้วิจัย ขอขอบคุณผู้ศึกษาขอขอบคุณคณะกรรมการและที่ปรึกษางานวิจัย ที่ได้กรุณาให้คำแนะนำและข้อคิดเห็นทางวิชาการที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการใช้เป็นกรอบแนวทาง ในการจัดทำเอกสารวิจัยส่วนบุคคลฉบับนี้ให้มีความสมบูรณ์ นอกจากนี้ผู้วิจัยขอขอบคุณ ท่านผู้ทรงคุณวุฒิ คณาจารย์วิทยาลัยปูองกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการปูองกันประเทศ ที่มีส่วนในการสนับสนุนสำคัญในระหว่างการจัดทำเอกสารวิชาการฉบับนี้ ผู้วิจัยขอขอบคุณวิทยาลัยปูองกันราชอาณาจักร และเจ้าหน้าที่ของวิทยาลัยทุกท่าน ที่ให้ความอนุเคราะห์เอื้อเฟื้อสถานที่ และทรัพยากรที่จำเป็นแก่การจัดทำเอกสาร รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือในการให้คำแนะนำรูปแบบและการตรวจทานเอกสารต้นฉบับให้มีความสมบูรณ์มาก และ หวังเป็นอย่างยิ่งว่างานวิจัยฉบับนี้ จะได้รับการนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในประเทศของเรา เพื่อให้เกิดผลสำเร็จเป็นประโยชน์ ต่อประเทศชาติบ้านเมืองต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้

(ปริญญา หอมเอนก)
นักศึกษาวิทยาลัยปูองกันราชอาณาจักร
หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๒ ผู้วิจัย

บทที่ ๑

บทนำ

ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา จากประเด็นยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคงและประเด็นยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ในเอกสารยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐) ในด้านของความมั่นคง มีการกล่าวถึงเรื่อง ปัญหาภัยคุกคามไซเบอร์ อาชญากรรมไซเบอร์ที่ซับซ้อนขึ้น รูปแบบการก่อสงครามที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ เครื่องมือบนพื้นฐานของธรรมาภิบาลข้อมูล ซึ่งครอบคลุมความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ความมีจริยธรรม และการไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล การสร้างอุตสาหกรรมที่ส่งเสริมความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อลดผลกระทบจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ต่อเศรษฐกิจและสังคม และ การปกปูองอธิปไตยไซเบอร์ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติ จากการทำธุรกิจดิจิทัล แนวโน้มเหล่านี้จะก่อให้เกิดความท้าทายต่อการพัฒนาประเทศในหลายมิติ ทั้งในส่วนของการจ้างงานและอาชีพ สาขาการผลิตและบริการใหม่ ๆ

จากกระแส “Digital disruption” และ “Digital transformation” ทั่วโลก ทำให้เรา คงปฏิเสธไม่ได้ว่า การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของโลกมีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์ ทุกคนบนโลกใบนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คำว่า ” Digital transformation” หรือ “Digital disruption” เป็นสิ่งที่เราได้ยินได้ฟังกันบ่อย ๆ ปัจจัยทั้ง 4 ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลดังกล่าว ได้แก่ (The four IT mega trends in S-M-C-I Era) S หมายถึง Social media M หมายถึง Mobile computing C หมายถึง Cloud computing และ I หมายถึง Information หรือ Big data เทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของโลกจากเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence) และ อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of things) กำลังมีการพัฒนาและประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก

ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากปัจจัยทั้งสี่ดังกล่าวจึงมีผลกระทบเกิดขึ้น ใน 3 ระดับได้แก่ ระดับบุคคลและครอบครัว ระดับองค์กร และระดับประเทศ ไปจนถึงผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ (National security) ปัจจุบันประเทศไทยของเราเป็นประเทศที่มีเอกราชและอธิปไตยในดินแดนของประเทศเราในเชิงกายภาพ (Physical) แต่หลังจากระบบอินเทอร์เน็ตได้เข้ามา มีบทบาทมากขึ้นในการติดต่อสื่อสารของคนไทยในหลายปีที่ผ่านมา ตลอดจนความนิยมในการใช้งานสมาร์ทโฟน และโปรแกรมเครือข่ายสังคมออนไลน์ของคนไทย ทำให้มีการเก็บข้อมูลคนไทย ทั้งประเทศไว้ในระบบคลาวด์ โดยส่งผ่านจากทางสมาร์ทโฟนและโปรแกรมเครือข่ายสังคมออนไลน์ดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น Facebook, Youtube และ Line ปัจจุบันมีคนไทยใช้งานสมาร์ทโฟน มากกว่าหนึ่งร้อยล้านเครื่อง โดยเฉลี่ยใช้งานวันละกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน โดยโปรแกรมยอดนิยม คงหนีไม่พ้นสามโปรแกรมเครือข่ายสังคมออนไลน์ดังที่กล่าวมาแล้ว ทำให้เกิดปรากฎการณ์มหกรรมการเก็บข้อมูลของคนไทยเข้าสู่ระบบคลาวด์ของบริษัทผู้ให้บริการโปรแกรมเครือข่ายสังคมออนไลน์ดังกล่าวสืบเนื่องจากการใช้งานสมาร์ทโฟนอย่างแพร่หลายทำให้มีการจัดเก็บพฤติกรรมผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนอย่างต่อเนื่องทั้งที่ผู้ใช้ทราบและไม่ทราบมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บข้อมูลตำแหน่งการใช้งาน (User location) พฤติกรรมการค้นหาข้อมูล (User search behavior and search keyword) พฤติกรรมการเข้าชมภาพและวิดีโอ ตลอดจนพฤติกรรมในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ เช่น การจองโรงแรม การจองตั๋วเครื่องบิน ทำให้ข้อมูลมหาศาลเหล่านี้ตกอยู่ในมือของ ผู้ให้บริการการค้นหาข้อมูล และ ผู้ให้บริการโปรแกรมเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

การเก็บข้อมูลในระบบคลาวด์ขนาดใหญ่ มีกลไกในการวิเคราะห์เจาะลึกข้อมูลของเรา โดยใช้เทคโนโลยี “Big data” และ “Machine learning” ทำให้ผู้ให้บริการสามารถล่วงรู้พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต การใช้สมาร์ทโฟน การค้นหาข้อมูล การใช้โปรแกรมเครือข่ายสังคมออนไลน์ การรับรู้ข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ทำให้ผู้ให้บริการสามารถทราบถึง “Digital lifestyle” ของผู้คนอย่างไม่ยากเย็นนักจากข้อมูลที่เราเองเป็นคนใส่ข้อมูลเข้าไปในระบบทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว

ปัญหาใหญ่ที่ตามมาคือปัญหา “อธิปไตยไซเบอร์” หรือ “ความเป็นเอกราชทางไซเบอร์” (Cyber sovereignty) ของผู้คนในประเทศตลอดจนไปถึงปัญหาความมั่นคงของชาติ (National security) ซึ่งคนไทยเองส่วนใหญ่ยังไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำว่ากำลังถูกละเมิดในเรื่อง “อธิปไตยไซเบอร์”หรือ “Cyber sovereignty” เนื่องจากปัญหาดังกล่าวถูกซ่อนอยู่ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตและ การใช้งานสมาร์ทโฟนในปัจจุบันที่อยู่ในชีวิตประจำวันของคนไทย ทำให้ผู้ให้บริการที่เข้าถึงข้อมูล เชิงลึก มีความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ และสามารถนำข้อมูลมาใช้ในการตลาดได้ อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงการขาดรายได้ของรัฐบาลไทยจากการจัดเก็บภาษีจากยอดเงินในระดับหมื่นล้านบาท โดยรัฐบาลไทยไม่สามารถจัดเก็บภาษีจากผู้ให้บริการได้ อย่างที่ควรจะเป็น เนื่องจากผู้ให้บริการทำการ Settlement payment โดยการใช้ Payment gateway นอกประเทศไทย เป็นต้น

จึงมีผู้กล่าวเปรียบเปรยได้ว่าเรากำลังใช้ชีวิตประจำวันอยู่ใน “The Matrix” หลายท่านอาจกำลังนึกถึงนวนิยายไซไฟ แต่จริง ๆ แล้วเรากำลังอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงที่ชีวิตประจำวัน ของคนไทยทุกคนมีความเกี่ยวพันกับ S-M-C-I อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งเปรียบเหมือนเรากำลัง อยู่ใน “สภาวะไซเบอร์” ซึ่งปัจจัยทั้งสี่ S-M-C-I กำลังมีผลกับเราอย่างไม่รู้ตัว โดยปัจจุบันคนไทย มี Facebook account มากกว่า 54 ล้าน account และ LINE account มากกว่า 45 ล้าน account โดยมีการใช้งานอย่างต่อเนื่องในแทบทุกวัน เรียกได้ว่าเป็น “New platform” ที่คนไทยกำลังใช้ในการติดต่อสื่อสารกันแทนการใช้งานเทคโนโลยีในอดีต

ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน สี จิ้นผิง ได้กล่าวเสมอในการประชุมสุดยอดผู้นำโลกเกี่ยวกับปัญหา “อธิปไตยไซเบอร์” (Cyber sovereignty) ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ท่านกล่าวว่าทุกประเทศทั่วโลกมีสิทธิที่จะกำหนดนโยบายด้านไซเบอร์ในประเทศของตน เพื่อปูองกันการรุกรานโดยต่างชาติในรูปแบบที่ไม่ต้องใช้กำลังทางทหารหรือกระสุนแม้แต่เพียงนัดเดียว แต่เป็นการรุกรานหรือการล่าอาณานิคมในรูปแบบใหม่ ที่ประชาชนในประเทศเปูาหมายไม่ได้รับรู้ว่ากำลังถูกรุกรานอยู่ เนื่องจากการรุกรานดังกล่าวไม่ต้องใช้กำลังแต่อย่างใด เป็นการรุกรานทางความคิด ความเชื่อ ค่อย ๆ ส่งข้อมูลเข้ามาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในชาติเหล่านี้ เราคงเคยเห็นกันจากประสบการณ์ “Arab Spring” ในตะวันออกกลางมาแล้ว มีผลต่อการเลือกตั้ง มีผลต่อการเมืองการปกครอง ภัยจากการรุกรานเข้ามาเปลี่ยนความคิดดังกล่าวนั้น น่ากลัวยิ่งกว่าภัยจากการแฮกของแฮกเกอร์ เสียอีก เนื่องจากแฮกเกอร์จะเข้าระบบเพื่อดึงข้อมูล หรือทำให้ระบบล่ม ที่เราเห็นปัญหามัลแวร์ กันอยู่เป็นประจำ หากแต่การเจาะเข้าไปในจิตใจของมนุษย์ ให้ปรับเปลี่ยนความคิด ความเชื่อ ความศรัทธา ทำให้ชอบหรือไม่ชอบ รักหรือเกลียดในบุคคล สินค้า หรือบริการ หรือบริษัทต่าง ๆ ตลอดจนผู้นำในแต่ละประเทศมีผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่าง ๆ ตลอดจนส่งผลกระทบถึงความมั่นคงของชาติหรือ “National security” ในที่สุด

ปัจจุบันประเทศไทยคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติได้ดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ประเทศไทยยังขาดการกำหนดและพัฒนายุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ อย่างเป็นทางการ ประกอบกับ ยังไม่มีแนวทางการแก้ปัญหาอธิปไตยไซเบอร์กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ ดังนั้น จึงเป็นที่มาของงานวิจัยฉบับนี้ ที่มุ่งศึกษาค้นคว้าแนวทางการกำหนดยุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์แห่งชาติเพื่อให้สามารถแก้ปัญหาอธิปไตยไซเบอร์และผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ ที่กำลังตามมาในระยะยาว เพื่อให้ประเทศไทยมีความพร้อมในการเข้าสู่ยุคแห่ง Data economy และ Digital transformation อีกทั้งยังสามารถปกปูองรักษาอธิปไตยไซเบอร์ของชาติเอาไว้ได้ ส่งผลต่อการรักษาความมั่นคงของชาติในที่สุด

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

๑. ศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการในการกำหนดยุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ รูปแบบ และ ลักษณะของยุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์แห่งชาติที่มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี มีความชัดเจน มีความเหมาะสมกับช่วงเวลา สามารถนำไปสู่การปฏิบัติจริงทั้งในการแก้ปัญหาอธิปไตยไซเบอร์ในระยะสั้นและระยะยาว

๒. เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการและรูปแบบของนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ ให้สอคล้องกับ ยุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ และ ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี เพื่อให้สามารถนำมาปฏิบัติจริงได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ

ขอบเขตของการวิจัย

๑. เน้นการวิจัยเฉพาะเรื่องอธิปไตยไซเบอร์ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ ไม่รวมเรื่องการโจมตีของแฮกเกอร์ในทางเทคนิค
๒. วิจัยเฉพาะยุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติของต่างประเทศที่เปิดเผยได้เท่านั้น

วิธีดำเนินการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาวิเคราะห์กระบวนการ รูปแบบ และลักษณะของปัญหาอธิปไตยไซเบอร์ในประเทศไทย และ ในต่างประเทศ รวมถึงการพิจารณายุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติของต่างประเทศเฉพาะที่มีความสอดคล้องกับเรื่องอธิปไตยไซเบอร์ มีการศึกษาเปรียบเทียบกับต่างประเทศบางประเทศ โดยมุ่งเน้นให้เห็นถึงความแตกต่างในการแก้ปัญหาของแต่ละประเทศที่ศึกษา เพื่อนำแนวทางการกำหนดและพัฒนายุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติของประเทศไทย มีความเหมาะสมของเนื้อหากับกรอบเวลา รวมทั้งมีการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้ได้แนวทางในการกำหนดและพัฒนายุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติของประเทศไทยเพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย

๑. จะทำให้ได้แนวทางในการพัฒนายุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติของประเทศไทย และรูปแบบในการกำหนดนโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ซึ่งจะช่วยให้มีทิศทางในการดำเนินการด้านการรักษาความมั่นคงของชาติ เพื่อให้บรรลุเปูาหมายในการแก้ปัญหาอธิปไตยไซเบอร์ในระยะสั้นและระยะยาว
๒. ได้แนวคิดในการปรับยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติ นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ บทบาท และโครงสร้างของหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในการกำหนดนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ และ การจัดการกับปัญหาอธิปไตยไซเบอร์ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานไปสู่วัตถุประสงค์หลักคือ การรักษาความมั่นคงของชาติในระยะยาวโดยสอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปีที่ได้ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว

คำจำกัดความความมั่นคง หมายถึง การมีความมั่นคงปลอดภัยจากภัยและการเปลี่ยนแปลง ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศในทุกระดับ ทั้งระดับประเทศ สังคม ชุมชน ครัวเรือน และปัจเจกบุคคลและมีความมั่นคง ในทุกมิติ ทั้งมิติทางการทหาร เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการเมือง เช่น ประเทศมีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตย มีการปกครองระบบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์มีความเข้มแข็งเป็นศูนย์กลางและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน มีระบบการเมืองที่มั่นคงเป็นกลไกที่นำไปสู่การบริหารประเทศที่ต่อเนื่องและโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาล สังคม มีความปรองดองและความสามัคคี สามารถผนึกกำลังเพื่อพัฒนาประเทศ ชุมชนมีความเข้มแข็ง ครอบครัวมีความอบอุ่น ประชาชน มีความมั่นคง ในชีวิต มีงานและรายได้ที่มั่นคงพอเพียงกับการดำรงชีวิต มีการออมสำหรับวัยเกษียณ ความมั่นคงของอาหาร พลังงาน และน้ำ มีที่อยู่อาศัย และความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ หมายถึง มาตรการหรือการดำเนินการที่กำหนดขึ้นเพื่อ ปูองกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ อันกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางทหาร และ ความสงบเรียบร้อยภายในประเทศภัยคุกคามทางไซเบอร์ หมายถึง การกระทำหรือการดำเนินการใด ๆ โดยมิชอบ โดยใช้คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมไม่พึงประสงค์ โดยมุ่งหมายให้เกิดการประทุษร้าย ต่อระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงที่จะก่อให้เกิดความเสียหายหรือส่งผลกระทบต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์อธิปไตยไซเบอร์ หมายถึง แนวคิดที่รัฐบาลของแต่ละประเทศควรมีสิทธิเสรีภาพ มีเอกราชและอธิปไตยในการบริหารจัดการระบบอินเทอร์เน็ตและ การบริการออนไลน์ต่าง ๆ ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตในประเทศของตนเอง แต่ในอีกความหมายหนึ่ง อาจหมายถึงเรื่องที่ประชาชนในชาติอาจถูกครอบงำทางเทคโนโลยีโดยเจ้าของแพลตฟอร์มที่ประชาชนนิยมใช้ โดยไม่รู้ตัวและรัฐบาลในประเทศนั้นไม่สามารถบริหารจัดการได้ ทำให้เกิด ผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจ สังคม และ ความมั่นคงของชาติในระยะยาว

นี่แค่เพียงบทแรกยังไม่ได้เข้าถึงเนื้อหาที่สำคัญ ฉะนั้นโปรดติดตามตอนต่อ ๆ ไปนะครับ

ขอขอบคุณอาจารย์ปริญญา หอมเอนก สำหรับข้อมูลตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 รวมทั้งตอนต่อ ๆ ไปแทนผู้อ่าน และจากผม มา ณ ที่นี้อีกครั้งนะครับ

1 Responses to ผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของชาติ : ปัญหาอธิปไตยไซเบอร์ และแนวทางการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ ตอนที่ 2

  1. Samart Pochjanapanichakul พูดว่า:

    ย่อหน้าสุดท้ายเป็นสรุปข้อความหรือคำจำกัดความที่ดีครับคุณใหม่น่าจะนำไปเป็นส่วนสรุปให้คณะทำงานฟังได้ครับ

    ขอบคุณครับสำหรับการแบ่งปัน สามารถ

    จาก: “Information Technology Governance” ถึง: “สามารถ พจนพาณิชย์กุล” ส่งแล้ว: พุธ, 6 มกราคม, 2021 10:37:45 AM เรื่อง: [New post] ผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของชาติ : ปัญหาอธิปไตยไซเบอร์ และแนวทางการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ ตอนที่ 2

    Metha Suvanasarn posted: ” ขอขอบคุณ อาจารย์ปริญญา หอมเอนก ประธานกรรมการบริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด ที่ได้อนุญาตให้ผมนำผลการวิจัยกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ พรบ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของชาติ พ.ศ. 2562 และ พรบ. ที่เกี่ยวข้อง และ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. “

ใส่ความเห็น