ความเชื่อ กับ การพัฒนาเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน / Trust and Sustainable Development ตอนที่ 3

ผลประโยชน์ทางสังคมกับการพัฒนาเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

การวางเป้าหมายกับการพัฒนาเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ควรมองภาพไปข้างหน้าในระยะยาวว่า การพัฒนาใดๆ ที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคมได้ หรือไม่สามารถจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของผู้มีผลประโยชน์ร่วมที่มีความต้องการแตกต่างกันได้ หรือสังคมไม่มีความเชื่อถือต่อประเทศ/องค์กรที่แน่นอนว่า สังคมโดยรวมจะมุ่งประเด็นไปที่ ประเด็นความไม่น่าเชื่อได้ของคณะกรรมการและ/หรือผู้บริหาร ที่มีนัยสำคัญ เช่น หากรัฐหรือภาคเอกชน ที่ไม่สามารถจัดการผลประโยชน์ทางสังคม ที่ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการได้ในระยะสั้น และในระยะยาว ก็ขาดนโยบาย ขาดวิสัยทัศน์ ขาดพันธกิจ ที่สังคมต้องการ เพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น เศรษฐกิจดิจิตอล และ/หรือ Internet of Things ซึ่งอาจจะมีความหมายไปถึงกระบวนการพัฒนาทุกสิ่งจะเกี่ยวข้องกับกระบวนการสื่อสารที่เรียกว่า “อินเทอร์เน็ต” ที่เชื่อมโยงอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และการบริการต่างๆ ในทุกเรื่อง ในทุกมุมมอง ที่จะให้อุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีล้ำยุคสามารถสื่อสารกันเองได้ โดยตอบสนองความต้องการของผู้ใช้แบบบูรณาการ อย่างที่อาจเรียกได้ว่า ไร้ขอบเขตจำกัด ที่ขับเคลื่อนไปด้วยกันกับระบบการสื่อสารและการใช้ platform ซึ่งในที่นี้หมายถึง เทคโนโลยีพื้นฐานของเทคโนโลยีหรือกระบวนการอื่น หรือ ฐานของระบบนั้นๆ  ถ้าเป็นวงการเกมส์ Platform ก็จะหมายถึงเครื่องที่ใช้เล่น เช่น PC, PS3, PS4, Xbox หรืออาจจะพิจารณาในมุมมองของการตลาด ซึ่งมุ่งเน้นไปยัง  SMAC – Social, Mobile, Analytical/Big data, Consumeration of IT, Cloud

digital-is-iot

ทั้ง 5 องค์ประกอบหลัก ที่เกี่ยวข้องกับสังคมของการพัฒนาเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนนี้ จะเกี่ยวข้องกับยุคดิจิตอล และนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งมีผลไปยังเศรษฐกิจและสังคมในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการผลิต การให้บริการ ที่ก่อให้เกิดการสร้างคุณค่าเพิ่มอเนกอนันต์ ต่อผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพในราคาที่ถูก และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นอย่างมาก

ตามที่ผมได้เกริ่นนำในวรรคต้นที่เกี่ยวข้องกับ SMAC ทั้ง 5 องค์ประกอบนี้นั้นก็คือ Internet of Things นั่นเอง ตัวอย่างเช่น การเชื่อมโยง internet เข้ากับอุปกรณ์ของใช้ทั้งที่มีตัวตน และไม่มีตัวตนเข้าด้วยกันเพื่อก่อให้เกิดคุณค่าเพิ่มในการใช้สอยในอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ ซึ่งในอนาคตไม่ไกลนัก พฤติกรรมของมนุษย์จะเปลี่ยนแปลงไปและมีความสะดวกสบายอย่างมากมาย

ดุลภาพและความเข้าใจของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อรองรับการเติบโตของยุคดิจิตอล

การสร้างดุลภาพและความเข้าใจในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถที่จะใช้โอกาสของการพัฒนาเทคโนโลยีในทุกมิติ เพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติและสังคมนั้น ผู้กำกับและผู้บริหารภาครัฐและภาคเอกชน ต้องมีวิสัยทัศน์และกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน ในการวางแผนระยะยาว เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้มีผลประโยชน์ร่วม ในการสร้างคุณค่าเพิ่มให้เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน โดยมีหลักการ กระบวนความคิดในการทำงาน ที่สามารถนำไปใช้จนเกิดเป็นวินัย ฝังรากลึกเข้าไปในมโนธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และเกิดการพัฒนาไปสู่การเรียนรู้ไปตลอดชีวิต เพราะเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวกับการมี การใช้เทคโนโลยี ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว จนทำให้ผู้กำกับและผู้บริหารบางส่วนอาจจะตามไม่ทันกับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนางาน และพัฒนาคน ให้เหมาะสมกับรูปแบบของการพัฒนาองค์กรเพื่อให้เกิดความยั่งยืนยุคใหม่

การพัฒนาประเทศและองค์กรให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาฯ

การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนประเทศและองค์กรให้ประสบความสำเร็จ อาจจะเริ่มต้นด้วยการประเมินตนเอง ในระดับประเทศและระดับองค์กร ซึ่งผมได้กล่าวไปบ้างแล้วในตอนที่ 1 นั้น เราลองมาศึกษาแนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายในการสร้างสังคมที่ดี ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สูงกว่า เป้าหมายการสร้างองค์กรที่ดี ซึ่งในยุคปัจจุบันมีนัยและมีความสำคัญยิ่ง ในการทำความเข้าใจเพื่อก้าวไปสู่ประเทศและองค์กรที่มีการพัฒนาเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ตามบทบาทและหน้าที่ที่รับผิดชอบในระดับต่างๆ ได้ ดังนั้น ความคิดที่เกี่ยวข้องกับการสร้างระบบ การกำกับดูแล และการบริหารจัดการระดับองค์กรที่ดีนั้น ควรจะถูกผลักดันโดยผู้มีผลประโยชน์ร่วมที่เกี่ยวข้อง เพื่อการสร้างคุณค่าเพิ่มหรืออาจจะกล่าวได้ว่า เป็นการสร้างคุณค่าเพิ่มตามหลักการระบบธรรมาภิบาล หรือ Governance ที่ต้องคำนึงถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และนวัตกรรมต่างๆ ทั้งทางด้านการเงิน การผลิต การบริการ เพื่อให้สังคมได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ โดยมีต้นทุนการบริหารจัดการที่มีประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับผู้ใช้ นั่นคือ Governance ยุคใหม่ จะต้องเป็น Governance of Enterprise IT – GEIT

Governance of Enterprise IT – GEIT เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

GEIT สามารถลดช่องว่างของความเหลื่อมล้ำต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ การเงิน การบริการ การผลิต การศึกษา ฯลฯ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนได้อย่างไรนั้น ผมได้เกริ่นนำไว้ในวรรคแรกของตอนที่ 3 นี้แล้ว ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ Internet of Things ซึ่งผมขอเล่ารายละเอียดให้ท่านผู้อ่านในตอนต่อไปนะครับ

1 Responses to ความเชื่อ กับ การพัฒนาเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน / Trust and Sustainable Development ตอนที่ 3

  1. chanuntipat พูดว่า:

    ขอบคุณค่ะ

    On Tue, Oct 4, 2559 at 18:08 Information Technology Governance wrote:

    > Metha Suvanasarn posted:
    > “ผลประโยชน์ทางสังคมกับการพัฒนาเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน
    > การวางเป้าหมายกับการพัฒนาเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน
    > ควรมองภาพไปข้างหน้าในระยะยาวว่า การพัฒนาใดๆ
    > ที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคมได้
    > หรือไม่สามารถจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของผู้มีผลประโยชน์”
    >

ใส่ความเห็น