แนวทาง/กรอบ/คู่มือการบริหารความเสี่ยงขององค์กร

มีนาคม 31, 2009

ครั้งก่อนผมได้กล่าวถึง แนวทางของการระบุปัจจัยเสี่ยงและเครื่องมือที่ใช้วัดการระบุปัจจัยเสี่ยงไปแล้ว ครั้งนี้เราจะมาดูกันว่า โครงสร้างของการบริหารความเสี่ยงประกอบไปด้วยใครกันบ้าง และในแต่ละคน/แต่ละส่วนงานมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารความเสี่ยงอย่างไรกันบ้าง ซึ่งผมจะพูดถึงบทบาทและความรับผิดชอบหลักของผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการบริหารความเสี่ยง โดยจะแบ่งเป็นหัวข้อ ๆ เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย เรามาดูกันต่อเลยครับ

โครงสร้างการบริหารความเสี่ยง
โครงสร้างของการบริหารความเสี่ยง ไม่มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานเพียงแบบเดียว แต่ต้องมีการปรับใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละองค์กร โดยจะพิจารณาได้จากวัฒนธรรม ความซับซ้อนของการดำเนินงาน ประเภทและลักษณะขององค์กรเป็นองค์ประกอบ สิ่งสำคัญของโครงสร้างการบริหารความเสี่ยง คือการที่คณะกรรมการและผู้บริหารทุกระดับมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการพัฒนาการบริหารความเสี่ยงขององค์กร

โครงสร้างการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิผลขององค์กรจะช่วยในการประเมิน ควบคุมและติดตามความเสี่ยงของแต่ละหน่วยงาน และทำให้เกิดความมั่นใจว่าการปฏิบัติงานในการบริหารความเสี่ยงโดยทุกคนในองค์กรอยู่ภายใต้กรอบเดียวกัน

โครงสร้างการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิผลประกอบด้วย
– คณะกรรมการที่มีความรับผิดชอบโดยตรงในการกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยง
– คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงที่ได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ในการพัฒนาการบริหารความเสี่ยงอย่างน้อยควรประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงขององค์กร เช่น กรรมการผู้จัดการ และรองกรรมการผู้จัดการ
– หน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบในการบริหารความเสี่ยงที่รับผิดชอบในการนำเอาวิสัยทัศน์ขององค์กรในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงไปกำหนดเป็นนโยบายและวิธีการปฏิบัติ

อย่างที่ได้กล่าวไปในช่วงต้นแล้วว่า โครงสร้างของการบริหารความเสี่ยง ไม่มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานตายตัว แต่ต้องมีการปรับใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละองค์กร ดังนั้น ผมจึงขอนำแผนภาพที่เป็นตัวอย่างของโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงมาให้ดูกันครับ

โครงสร้างการบริหารความเสี่ยงขององค์กร

โครงสร้างการบริหารความเสี่ยงขององค์กร

การพัฒนาโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นทางการ จะทำให้ผู้บริหารและพนักงานในหน่วยงานต่าง ๆ มีความเข้าใจในหน้าที่และความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยง ซึ่งมีผลให้เกิดการตัดสินใจที่ถูกต้อง ทันเวลา ป้องกันความสูญเสียและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้แก่องค์กร

การพัฒนาโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงต้องการความรับผิดชอบและความร่วมมือจากทุกคนดังนี้
– คณะกรรมการ
– คณะกรรมการตรวจสอบ
– คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
– ผู้บริหารระดับสูง
– หน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบการบริหารความเสี่ยง
– ผู้ตรวจสอบภายใน
– หัวหน้างานและพนักงาน

บทบาทและความรับผิดชอบหลักของผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการบริหารความเสี่ยง
คณะกรรมการ
– จะต้องเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจมีผลกระทบร้ายแรงต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร และทำให้มั่นใจว่ามีการดำเนินการที่เหมาะสมเพื่อจัดการความเสี่ยงนั้น ๆ

คณะกรรมการตรวจสอบ
– ต้องทำให้มั่นใจว่ามีการควบคุมภายในองค์กรที่เหมาะสมเพื่อจัดการความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร
– มีหน้าที่กำกับดูแลและติดตามการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นอิสระ
– ติดตามประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานตรวจสอบภายใน
– รายงานต่อคณะกรรมการและผู้ถือหุ้นเกี่ยวกับประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการควบคุมภายในองค์กร
– คณะกรรมการตรวจสอบมีการสื่อสารกับคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้เข้าใจความเสี่ยงที่สำคัญและเชื่อมโยงให้สอดคล้องกับการควบคุมภายใน

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
– มีหน้าที่ในการพิจารณาและอนุมัตินโยบายและกรอบการบริหารความเสี่ยง
– ติดตามการพัฒนากรอบการบริหารความเสี่ยง
– ติดตามกระบวนการบ่งชี้และการประเมินความเสี่ยง
– ประเมินและอนุมัติแผนการจัดการความเสี่ยง
– รายงานต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับความเสี่ยง และการจัดการความเสี่ยง
– มีการสื่อสารกับคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับความเสี่ยงที่สำคัญ

กรรมการผู้จัดการหรือ ผู้อำนวยการ
– มีหน้าที่ติดตามความเสี่ยงที่สำคัญทั้งองค์กร และทำให้มั่นใจได้ว่ามีแผนการจัดการกับความเสี่ยงที่เหมาะสม
– ส่งเสริมนโยบายการบริหารความเสี่ยง และทำให้มั่นใจว่ากระบวนการบริหารความเสี่ยงได้รับการปฏิบัติทั่วทั้งองค์กร

รองกรรมการผู้จัดการ หรือ รองผู้อำนวยการ
– ต้องติดตามความเสี่ยงทางกลยุทธ์และความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการที่สำคัญ และทำให้มั่นใจได้ว่ามีแผนการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม
– ส่งเสริมวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยง และทำให้มั่นใจได้ว่าผู้อำนวยการฝ่ายให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงในฝ่ายของตน

ผู้อำนวยการฝ่าย
– ต้องทำให้มั่นใจว่าการปฏิบัติงานรายวันมีการประเมิน จัดการและรายงานความเสี่ยงอย่างเพียงพอ
– มีการส่งเสริมพนักงานในฝ่ายให้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง

หัวหน้างานหรือพนักงาน
– มีหน้าที่ระบุและรายงานความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานต่อผู้อำนวยการฝ่าย และเข้าร่วมในการจัดทำแผนจัดการความเสี่ยง และนำแผนไปปฏิบัติ

หน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบการบริหารความเสี่ยง
– ต้องปฏิบัติหน้าที่ประจำวันแทนคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
– จัดทำนโยบายความเสี่ยง กรอบและกระบวนการให้กับหน่วยงานและเสนอคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเพื่ออนุมัติ
– มีหน้าที่ให้การสนับสนุน และแนะนำกระบวนการบริหารความเสี่ยง แก่หน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์กรตามที่มีการร้องขอ

ผู้ตรวจสอบภายใน
– ต้องทำให้มั่นใจว่ามีการควบคุมภายในองค์กรที่เหมาะสมต่อการจัดการความเสี่ยง และการควบคุมเหล่านั้นได้รับการปฏิบัติตาม
– ทำให้มั่นใจว่าได้มีการนำระบบการบริหารความเสี่ยงมาปรับใช้อย่างเหมาะสมและมีการปฏิบัติตามทั่วทั้งองค์กร
– มีการสอบทานการปฏิบัติงานของหน่วยงานการบริหารความเสี่ยง
– ต้องสื่อสารกับหน่วยงานการบริหารความเสี่ยงเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยง และดำเนินการตรวจสอบภายในตามแนวความเสี่ยง (Risk Based Auditing)

ถึงแม้ว่าจะมีการกำหนดบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงไว้อย่างชัดเจนแล้วก็ตาม แต่อย่างไรก็ตาม องค์กรทั่วไปควรกำหนดให้การบริหารความเสี่ยงเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ และให้มีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การบริหารความเสี่ยงประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพสูงสุด

ผมจะขอทิ้งท้ายด้วยภาพของบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารความเสี่ยง ดังที่ได้อธิบายในข้างต้นไว้ให้ได้ชมกันครับ

บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารความเสี่ยง

บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารความเสี่ยง


แนวทาง/กรอบ/คู่มือการบริหารความเสี่ยงขององค์กร

มีนาคม 31, 2009

ครั้งก่อนผมได้กล่าวถึง แนวทางของการระบุปัจจัยเสี่ยงและเครื่องมือที่ใช้วัดการระบุปัจจัยเสี่ยงไปแล้ว ครั้งนี้เราจะมาดูกันว่า โครงสร้างของการบริหารความเสี่ยงประกอบไปด้วยใครกันบ้าง และในแต่ละคน/แต่ละส่วนงานมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารความเสี่ยงอย่างไรกันบ้าง ซึ่งผมจะพูดถึงบทบาทและความรับผิดชอบหลักของผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการบริหารความเสี่ยง โดยจะแบ่งเป็นหัวข้อ ๆ เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย เรามาดูกันต่อเลยครับ

โครงสร้างการบริหารความเสี่ยง
โครงสร้างของการบริหารความเสี่ยง ไม่มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานเพียงแบบเดียว แต่ต้องมีการปรับใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละองค์กร โดยจะพิจารณาได้จากวัฒนธรรม ความซับซ้อนของการดำเนินงาน ประเภทและลักษณะขององค์กรเป็นองค์ประกอบ สิ่งสำคัญของโครงสร้างการบริหารความเสี่ยง คือการที่คณะกรรมการและผู้บริหารทุกระดับมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการพัฒนาการบริหารความเสี่ยงขององค์กร

โครงสร้างการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิผลขององค์กรจะช่วยในการประเมิน ควบคุมและติดตามความเสี่ยงของแต่ละหน่วยงาน และทำให้เกิดความมั่นใจว่าการปฏิบัติงานในการบริหารความเสี่ยงโดยทุกคนในองค์กรอยู่ภายใต้กรอบเดียวกัน

โครงสร้างการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิผลประกอบด้วย
– คณะกรรมการที่มีความรับผิดชอบโดยตรงในการกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยง
– คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงที่ได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ในการพัฒนาการบริหารความเสี่ยงอย่างน้อยควรประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงขององค์กร เช่น กรรมการผู้จัดการ และรองกรรมการผู้จัดการ
– หน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบในการบริหารความเสี่ยงที่รับผิดชอบในการนำเอาวิสัยทัศน์ขององค์กรในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงไปกำหนดเป็นนโยบายและวิธีการปฏิบัติ

อย่างที่ได้กล่าวไปในช่วงต้นแล้วว่า โครงสร้างของการบริหารความเสี่ยง ไม่มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานตายตัว แต่ต้องมีการปรับใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละองค์กร ดังนั้น ผมจึงขอนำแผนภาพที่เป็นตัวอย่างของโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงมาให้ดูกันครับ

โครงสร้างการบริหารความเสี่ยงขององค์กร

โครงสร้างการบริหารความเสี่ยงขององค์กร

การพัฒนาโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นทางการ จะทำให้ผู้บริหารและพนักงานในหน่วยงานต่าง ๆ มีความเข้าใจในหน้าที่และความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยง ซึ่งมีผลให้เกิดการตัดสินใจที่ถูกต้อง ทันเวลา ป้องกันความสูญเสียและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้แก่องค์กร

การพัฒนาโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงต้องการความรับผิดชอบและความร่วมมือจากทุกคนดังนี้
– คณะกรรมการ
– คณะกรรมการตรวจสอบ
– คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
– ผู้บริหารระดับสูง
– หน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบการบริหารความเสี่ยง
– ผู้ตรวจสอบภายใน
– หัวหน้างานและพนักงาน

บทบาทและความรับผิดชอบหลักของผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการบริหารความเสี่ยง
คณะกรรมการ
– จะต้องเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจมีผลกระทบร้ายแรงต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร และทำให้มั่นใจว่ามีการดำเนินการที่เหมาะสมเพื่อจัดการความเสี่ยงนั้น ๆ

คณะกรรมการตรวจสอบ
– ต้องทำให้มั่นใจว่ามีการควบคุมภายในองค์กรที่เหมาะสมเพื่อจัดการความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร
– มีหน้าที่กำกับดูแลและติดตามการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นอิสระ
– ติดตามประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานตรวจสอบภายใน
– รายงานต่อคณะกรรมการและผู้ถือหุ้นเกี่ยวกับประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการควบคุมภายในองค์กร
– คณะกรรมการตรวจสอบมีการสื่อสารกับคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้เข้าใจความเสี่ยงที่สำคัญและเชื่อมโยงให้สอดคล้องกับการควบคุมภายใน

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
– มีหน้าที่ในการพิจารณาและอนุมัตินโยบายและกรอบการบริหารความเสี่ยง
– ติดตามการพัฒนากรอบการบริหารความเสี่ยง
– ติดตามกระบวนการบ่งชี้และการประเมินความเสี่ยง
– ประเมินและอนุมัติแผนการจัดการความเสี่ยง
– รายงานต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับความเสี่ยง และการจัดการความเสี่ยง
– มีการสื่อสารกับคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับความเสี่ยงที่สำคัญ

กรรมการผู้จัดการหรือ ผู้อำนวยการ
– มีหน้าที่ติดตามความเสี่ยงที่สำคัญทั้งองค์กร และทำให้มั่นใจได้ว่ามีแผนการจัดการกับความเสี่ยงที่เหมาะสม
– ส่งเสริมนโยบายการบริหารความเสี่ยง และทำให้มั่นใจว่ากระบวนการบริหารความเสี่ยงได้รับการปฏิบัติทั่วทั้งองค์กร

รองกรรมการผู้จัดการ หรือ รองผู้อำนวยการ
– ต้องติดตามความเสี่ยงทางกลยุทธ์และความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการที่สำคัญ และทำให้มั่นใจได้ว่ามีแผนการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม
– ส่งเสริมวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยง และทำให้มั่นใจได้ว่าผู้อำนวยการฝ่ายให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงในฝ่ายของตน

ผู้อำนวยการฝ่าย
– ต้องทำให้มั่นใจว่าการปฏิบัติงานรายวันมีการประเมิน จัดการและรายงานความเสี่ยงอย่างเพียงพอ
– มีการส่งเสริมพนักงานในฝ่ายให้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง

หัวหน้างานหรือพนักงาน
– มีหน้าที่ระบุและรายงานความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานต่อผู้อำนวยการฝ่าย และเข้าร่วมในการจัดทำแผนจัดการความเสี่ยง และนำแผนไปปฏิบัติ

หน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบการบริหารความเสี่ยง
– ต้องปฏิบัติหน้าที่ประจำวันแทนคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
– จัดทำนโยบายความเสี่ยง กรอบและกระบวนการให้กับหน่วยงานและเสนอคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเพื่ออนุมัติ
– มีหน้าที่ให้การสนับสนุน และแนะนำกระบวนการบริหารความเสี่ยง แก่หน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์กรตามที่มีการร้องขอ

ผู้ตรวจสอบภายใน
– ต้องทำให้มั่นใจว่ามีการควบคุมภายในองค์กรที่เหมาะสมต่อการจัดการความเสี่ยง และการควบคุมเหล่านั้นได้รับการปฏิบัติตาม
– ทำให้มั่นใจว่าได้มีการนำระบบการบริหารความเสี่ยงมาปรับใช้อย่างเหมาะสมและมีการปฏิบัติตามทั่วทั้งองค์กร
– มีการสอบทานการปฏิบัติงานของหน่วยงานการบริหารความเสี่ยง
– ต้องสื่อสารกับหน่วยงานการบริหารความเสี่ยงเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยง และดำเนินการตรวจสอบภายในตามแนวความเสี่ยง (Risk Based Auditing)

ถึงแม้ว่าจะมีการกำหนดบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงไว้อย่างชัดเจนแล้วก็ตาม แต่อย่างไรก็ตาม องค์กรทั่วไปควรกำหนดให้การบริหารความเสี่ยงเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ และให้มีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การบริหารความเสี่ยงประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพสูงสุด

ผมจะขอทิ้งท้ายด้วยภาพของบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารความเสี่ยง ดังที่ได้อธิบายในข้างต้นไว้ให้ได้ชมกันครับ

บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารความเสี่ยง

บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารความเสี่ยง