Lesson Learned จากการกำกับดูแลของ FSA เพื่อป้องกันการเกิดกรณีทุจริตของผู้ค้าเงินของธนาคาร Societe Generale (ต่อ)

พฤษภาคม 7, 2009

ดีใจได้เดี๋ยวเดียวเองครับ กับอินเตอร์เน็ตที่คิดว่าใช้งานได้ดีแล้ว คิดว่าวันนี้จะ update หัวข้อต่าง ๆ ที่ยังค้างคา อย่างกรณีเรื่องเล่าของ FSA ที่ยังค้างไว้เมื่อครั้งที่แล้ว และยังเรื่องของการบริหารความเสี่ยง หรือเรื่องของ CG อีก สุดท้ายก็ยังใช้งานได้ติด ๆ ขัด ๆ อยู่ดี แต่ผมตั้งใจไว้แล้วว่าวันนี้จะ update ให้ได้ ผมก็จะพยายามจนสุดความสามารถละกันนะครับ

จากกรณีศึกษา เรื่อง FSA – Financial Services Authority สอบสวนถึงกรณีการทุจริตของธนาคาร Societe Generale (SG) ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อสถาบันการเงินทุกแห่ง รวมทั้งองค์กรที่ไม่ได้เป็นสถาบันการเงินด้วย ทั้งนี้เพราะข้อสังเกตของ FSA ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับของประเทศอังกฤษ ได้ร่วมกับหน่วยงานกำกับอื่น ๆ ในการศึกษาเพื่อป้องกันปัญหาการทุจริตในสถาบันการเงินต่อไปในอนาคตนั้น จะมีประโยชน์ในเชิงป้องกันปัญหาการทุจริตในวงการบริหารเงิน การกำกับสถาบันการเงินที่ไม่จำเป็นจะต้องเป็นผู้ค้าเงินด้วยก็ตาม

คำถามซึ่งผสมผสานไปด้วยข้อคิด และข้อสังเกตไปในตัวในแต่ละข้อนั้น มีลักษณะให้ผู้บริหารขององค์กรต้องตอบอย่างมั่นใจว่า องค์กรของตนได้มีการปฏิบัติที่เหมาะสมเกี่ยวกับการควบคุมความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือไม่ ผมได้แนะนำให้สถาบันการเงินบางแห่งและองค์กรที่ไม่ใช่เป็นสถาบันการเงิน ได้นำข้อสังเกตกึ่งข้อแนะนำของ FSA นี้ไปใช้ในการทบทวนการป้องกันความเสี่ยงในแง่มุมต่าง ๆ ขององค์กรในเชิงรุก

ท่านผู้บริหารและผู้ตรวจสอบที่สนใจในเรื่องนี้ บางหน่วยงานให้ข้อสังเกตในลักษณะว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการค้าเงินของสถาบันการเงิน ซึ่งอาจไม่ตรงกับการดำเนินงานขององค์กรของตนมากนัก เรื่องนี้ผมใคร่ขอเรียนย้ำว่า ขอให้ท่านผู้บริหารได้โปรดศึกษาในเนื้อหาและสาเหตุของการทุจริตอย่างละเอียด และนำหลักการของ COSO – ERM มาประยุกต์ใช้และเปรียบเทียบ โดยใช้ดุลยพินิจและนำมาประยุกต์กับหน่วยงานของท่าน โดยการตั้งคำถามในเรื่องที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกับที่ FSA ได้ตั้งคำถามและนำคำตอบหลากหลายนั้น มาตั้งคำถามเพิ่มเติมเพื่อให้ได้คำตอบในแง่มุมที่เกี่ยวข้อง และตั้งคำถามจากคำตอบหลังสุดนั้นไปเรื่อย ๆ อย่างเป็นกระบวนการตามหลักการของ COSO – ERM ผสมผสานกับหลักการของ COBIT ภายใต้ร่มของ IT Governance ท่านผู้บริหารก็จะได้ภาพที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ที่สามารถนำมาสร้างเป็นหลักการในการควบคุมความเสี่ยง รวมทั้งออกนโยบายที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสมต่อไป

ความเสี่ยงในการตรวจสอบ (Audit Risk) ประการหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ก็คือ ผู้ตรวจสอบไม่ได้ตรวจสอบหรือแม้แต่วางแผนการตรวจสอบ ประเด็นที่อาจปรับปรุงกระบวนการบริหารงานของผู้บริหารในองค์กรอย่างเป็นกระบวนการที่แท้จริง เช่น การมอบอำนาจให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งควรจะมีการควบคุมอย่างใกล้ชิดเพื่อรักษาดุลยภาพและความเหมาะสมในการให้อำนาจกับบุคคลนั้น ๆ โดยมี Dual Control ที่ได้ดุลยภาพผสมผสานกับการใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยในการควบคุมและรายงานสิ่งผิดปกติ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งเรื่องนี้อาจเปรียบเทียบได้กับกรณีของ ธอส. ซึ่งกระทรวงการคลังกำลังขอให้ผู้บริหารของ ธอส. ชี้แจงในเรื่องนี้ ซึ่งมีแง่มุมที่น่าสนใจที่อาจนำมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในโอกาสต่อไป

วันนี้ ผมจึงขอนำข้อสังเกตจากกรณีศึกษาของ FSA กรณีการทุจริตของ Societe Generale (SG) มาเล่าต่อจากวันก่อน เพื่อให้ท่านที่สนใจได้ช่วยกันวิเคราะห์ และจะมีประโยชน์อย่างยิ่ง หากผู้บริหารของสถาบันการเงินและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารเงินจะได้สนใจ และประเมินศักยภาพของผู้บริหารและผู้ตรวจสอบภายในในองค์กรของท่านต่อไป

Control functions: culture and challenge
3. สง. มั่นใจได้อย่างไรว่าหน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุมมีความรู้และทักษะเพียงพอ เพื่อสามารถติดตามการทำงานของ front office ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. สง. มั่นใจได้อย่างไรว่าระบบการสอบทานและควบคุม ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่คาดหวัง
4.1 สง. ควรมีการพิจารณาอย่างสม่ำเสมอว่าบุคลากรทุกคนที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม ( Control function ) มีความรู้ความสามารถและมีอำนาจในการติดตามการทำงานของ front office ได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อมีการทำธุรกรรมที่เกิน Limit หรือเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่น่าสงสัยขึ้น
4.2 Middle office และ Back office มีความเข้าใจหรือไม่ว่าเมื่อใดควรใช้ บัญชีพัก (Suspense account) ในการบันทึกรายการ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการใช้ บัญชีพัก ผิดวัตถุประสงค์ของ Trader (อาจใช้ บัญชีพัก เพื่อซ่อนรายการทุจริต) นอกจากนี้ หากมีธุรกรรมต้องสงสัย สง. มีขั้นตอนการนำเสนอรายงานตามลำดับชั้นถึงผู้บริหารเพื่อการตัดสินใจหรือไม่
4.3 เพื่อความมีประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน สง.ควรมีการคัดเลือกและรักษาพนักงานที่มีคุณภาพ รวมถึงมีการฝึกอบรมพนักงานอย่างสม่ำเสมอ

Risk management and limit
5. สง. มั่นใจได้อย่างไรว่ามีการตรวจสอบความเสี่ยงทุกประเภทที่มีนัยสำคัญได้อย่างถูกต้องครบถ้วน เช่น Exotic risk, Basic risk เป็นต้น
6. สง. มั่นใจได้อย่างไรว่า Limit ที่มีครอบคลุมความเสี่ยงทุกประเภทอย่างเหมาะสม และมีการติดตามความเสี่ยงทั้งหมดเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ
6.1 สง. ควรมีเครื่องมือที่สามารถตรวจสอบ Position ของ Trader โดยเปรียบเทียบกับอำนาจการทำธุรกรรมและ Limit ที่ Trader ได้รับ นอกจากนี้ควรเทียบ Position ของ Trader ว่ามีสัดส่วนเท่าใดของ Position ทั้ง Desk เพื่อทราบว่าธุรกรรมของ Trader รายนั้นต้องติดตามดูแลเป็นพิเศษหรือไม่
6.2 สง. ควรต้องติดตามดูแลความเสี่ยงที่อาจตรวจวัดได้ยาก เช่น Exotic and Higher order risk, Basic risk และ Liquidity risk ซึ่งในกรณีนี้ สง.ควรใช้เครื่องมือที่มีประโยชน์ เช่น Gross notional limit หรือ Gross sensitivity limits เพื่อควบคุมความเสี่ยงดังกล่าว

Management information
7. ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่ใช้เป็นข้อมูลในการบริหารมีความละเอียดและเหมาะสมเพียงพอหรือไม่
8. สง. มีการรวบรวมข้อมูลจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้แน่ใจได้ว่าการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องและหรือธุรกรรมต้องสงสัยถูกตรวจจับ
8.1 หาก Trader สามารถทำธุรกรรมได้หลากหลายผลิตภัณฑ์ในหลายตลาด อาจถูกติดตามดูแลโดย Middle office ต่างทีมกัน จึงควรรวบรวมข้อมูลจาก Middle office ทุกทีมเพื่อใช้ติดตามผลการปฏิบัติงานของ Trader แต่ละราย นอกจากนี้ควรมีขั้นตอนการนำเสนอและการรวบรวมตัวชี้วัดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อให้ผู้บริหารในห้องค้าและหน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุมใช้ประเมินผลการปฏิบัติงาน Trader ได้อย่างครบถ้วนเหมาะสม
8.2 ตัวอย่างเช่น สง.มีการกำหนดว่า Trader ทำผิดกี่ครั้งจะได้รับ Yellow flag และกำหนดว่า Yellow flag กี่ครั้งจึงเท่ากับ Red flag เพื่อพิจารณาว่า Trader รายนั้นมีการทำผิดในเรื่องเดิมๆ หลายครั้งหรือไม่
8.3 สง. ควรให้ความสนใจกับข้อสังเกตของผู้ที่อยู่ภายนอกองค์กร เช่น การตั้งข้อสังเกตโดยตลาดหลักทรัพย์ว่าสง.มีการทำธุรกรรมซื้อขายในปริมาณที่ผิดปกติ สง. ควรมีการนำเสนอข้อมูลดังกล่าวร่วมกับข้อมูลต้องนำเสนอผู้บริหารด้วย เพื่อพิจารณาว่าควรตั้งเป็นข้อสังเกตและติดตามดูแลหรือไม่อย่างไร นอกจากนี้ประเด็นที่ถูกตั้งเป็นข้อสังเกตจากตลาดฯ ควรมีการสืบสวนหาข้อเท็จจริงโดยหน่วยงานที่เป็นอิสระจาก Trader หรือไม่

ยังครับ ยังไม่จบเท่านี้ ไว้คราวหน้าผมจะมาเล่าต่ออีกในกรณีศึกษา การทุจริตของธนาคาร Societe Generale (SG) ครับ


Lesson Learned จากการกำกับดูแลของ FSA เพื่อป้องกันการเกิดกรณีทุจริตของผู้ค้าเงินของธนาคาร Societe Generale (ต่อ)

พฤษภาคม 7, 2009

ดีใจได้เดี๋ยวเดียวเองครับ กับอินเตอร์เน็ตที่คิดว่าใช้งานได้ดีแล้ว คิดว่าวันนี้จะ update หัวข้อต่าง ๆ ที่ยังค้างคา อย่างกรณีเรื่องเล่าของ FSA ที่ยังค้างไว้เมื่อครั้งที่แล้ว และยังเรื่องของการบริหารความเสี่ยง หรือเรื่องของ CG อีก สุดท้ายก็ยังใช้งานได้ติด ๆ ขัด ๆ อยู่ดี แต่ผมตั้งใจไว้แล้วว่าวันนี้จะ update ให้ได้ ผมก็จะพยายามจนสุดความสามารถละกันนะครับ

จากกรณีศึกษา เรื่อง FSA – Financial Services Authority สอบสวนถึงกรณีการทุจริตของธนาคาร Societe Generale (SG) ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อสถาบันการเงินทุกแห่ง รวมทั้งองค์กรที่ไม่ได้เป็นสถาบันการเงินด้วย ทั้งนี้เพราะข้อสังเกตของ FSA ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับของประเทศอังกฤษ ได้ร่วมกับหน่วยงานกำกับอื่น ๆ ในการศึกษาเพื่อป้องกันปัญหาการทุจริตในสถาบันการเงินต่อไปในอนาคตนั้น จะมีประโยชน์ในเชิงป้องกันปัญหาการทุจริตในวงการบริหารเงิน การกำกับสถาบันการเงินที่ไม่จำเป็นจะต้องเป็นผู้ค้าเงินด้วยก็ตาม

คำถามซึ่งผสมผสานไปด้วยข้อคิด และข้อสังเกตไปในตัวในแต่ละข้อนั้น มีลักษณะให้ผู้บริหารขององค์กรต้องตอบอย่างมั่นใจว่า องค์กรของตนได้มีการปฏิบัติที่เหมาะสมเกี่ยวกับการควบคุมความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือไม่ ผมได้แนะนำให้สถาบันการเงินบางแห่งและองค์กรที่ไม่ใช่เป็นสถาบันการเงิน ได้นำข้อสังเกตกึ่งข้อแนะนำของ FSA นี้ไปใช้ในการทบทวนการป้องกันความเสี่ยงในแง่มุมต่าง ๆ ขององค์กรในเชิงรุก

ท่านผู้บริหารและผู้ตรวจสอบที่สนใจในเรื่องนี้ บางหน่วยงานให้ข้อสังเกตในลักษณะว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการค้าเงินของสถาบันการเงิน ซึ่งอาจไม่ตรงกับการดำเนินงานขององค์กรของตนมากนัก เรื่องนี้ผมใคร่ขอเรียนย้ำว่า ขอให้ท่านผู้บริหารได้โปรดศึกษาในเนื้อหาและสาเหตุของการทุจริตอย่างละเอียด และนำหลักการของ COSO – ERM มาประยุกต์ใช้และเปรียบเทียบ โดยใช้ดุลยพินิจและนำมาประยุกต์กับหน่วยงานของท่าน โดยการตั้งคำถามในเรื่องที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกับที่ FSA ได้ตั้งคำถามและนำคำตอบหลากหลายนั้น มาตั้งคำถามเพิ่มเติมเพื่อให้ได้คำตอบในแง่มุมที่เกี่ยวข้อง และตั้งคำถามจากคำตอบหลังสุดนั้นไปเรื่อย ๆ อย่างเป็นกระบวนการตามหลักการของ COSO – ERM ผสมผสานกับหลักการของ COBIT ภายใต้ร่มของ IT Governance ท่านผู้บริหารก็จะได้ภาพที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ที่สามารถนำมาสร้างเป็นหลักการในการควบคุมความเสี่ยง รวมทั้งออกนโยบายที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสมต่อไป

ความเสี่ยงในการตรวจสอบ (Audit Risk) ประการหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ก็คือ ผู้ตรวจสอบไม่ได้ตรวจสอบหรือแม้แต่วางแผนการตรวจสอบ ประเด็นที่อาจปรับปรุงกระบวนการบริหารงานของผู้บริหารในองค์กรอย่างเป็นกระบวนการที่แท้จริง เช่น การมอบอำนาจให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งควรจะมีการควบคุมอย่างใกล้ชิดเพื่อรักษาดุลยภาพและความเหมาะสมในการให้อำนาจกับบุคคลนั้น ๆ โดยมี Dual Control ที่ได้ดุลยภาพผสมผสานกับการใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยในการควบคุมและรายงานสิ่งผิดปกติ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งเรื่องนี้อาจเปรียบเทียบได้กับกรณีของ ธอส. ซึ่งกระทรวงการคลังกำลังขอให้ผู้บริหารของ ธอส. ชี้แจงในเรื่องนี้ ซึ่งมีแง่มุมที่น่าสนใจที่อาจนำมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในโอกาสต่อไป

วันนี้ ผมจึงขอนำข้อสังเกตจากกรณีศึกษาของ FSA กรณีการทุจริตของ Societe Generale (SG) มาเล่าต่อจากวันก่อน เพื่อให้ท่านที่สนใจได้ช่วยกันวิเคราะห์ และจะมีประโยชน์อย่างยิ่ง หากผู้บริหารของสถาบันการเงินและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารเงินจะได้สนใจ และประเมินศักยภาพของผู้บริหารและผู้ตรวจสอบภายในในองค์กรของท่านต่อไป

Control functions: culture and challenge
3. สง. มั่นใจได้อย่างไรว่าหน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุมมีความรู้และทักษะเพียงพอ เพื่อสามารถติดตามการทำงานของ front office ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. สง. มั่นใจได้อย่างไรว่าระบบการสอบทานและควบคุม ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่คาดหวัง
4.1 สง. ควรมีการพิจารณาอย่างสม่ำเสมอว่าบุคลากรทุกคนที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม ( Control function ) มีความรู้ความสามารถและมีอำนาจในการติดตามการทำงานของ front office ได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อมีการทำธุรกรรมที่เกิน Limit หรือเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่น่าสงสัยขึ้น
4.2 Middle office และ Back office มีความเข้าใจหรือไม่ว่าเมื่อใดควรใช้ บัญชีพัก (Suspense account) ในการบันทึกรายการ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการใช้ บัญชีพัก ผิดวัตถุประสงค์ของ Trader (อาจใช้ บัญชีพัก เพื่อซ่อนรายการทุจริต) นอกจากนี้ หากมีธุรกรรมต้องสงสัย สง. มีขั้นตอนการนำเสนอรายงานตามลำดับชั้นถึงผู้บริหารเพื่อการตัดสินใจหรือไม่
4.3 เพื่อความมีประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน สง.ควรมีการคัดเลือกและรักษาพนักงานที่มีคุณภาพ รวมถึงมีการฝึกอบรมพนักงานอย่างสม่ำเสมอ

Risk management and limit
5. สง. มั่นใจได้อย่างไรว่ามีการตรวจสอบความเสี่ยงทุกประเภทที่มีนัยสำคัญได้อย่างถูกต้องครบถ้วน เช่น Exotic risk, Basic risk เป็นต้น
6. สง. มั่นใจได้อย่างไรว่า Limit ที่มีครอบคลุมความเสี่ยงทุกประเภทอย่างเหมาะสม และมีการติดตามความเสี่ยงทั้งหมดเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ
6.1 สง. ควรมีเครื่องมือที่สามารถตรวจสอบ Position ของ Trader โดยเปรียบเทียบกับอำนาจการทำธุรกรรมและ Limit ที่ Trader ได้รับ นอกจากนี้ควรเทียบ Position ของ Trader ว่ามีสัดส่วนเท่าใดของ Position ทั้ง Desk เพื่อทราบว่าธุรกรรมของ Trader รายนั้นต้องติดตามดูแลเป็นพิเศษหรือไม่
6.2 สง. ควรต้องติดตามดูแลความเสี่ยงที่อาจตรวจวัดได้ยาก เช่น Exotic and Higher order risk, Basic risk และ Liquidity risk ซึ่งในกรณีนี้ สง.ควรใช้เครื่องมือที่มีประโยชน์ เช่น Gross notional limit หรือ Gross sensitivity limits เพื่อควบคุมความเสี่ยงดังกล่าว

Management information
7. ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่ใช้เป็นข้อมูลในการบริหารมีความละเอียดและเหมาะสมเพียงพอหรือไม่
8. สง. มีการรวบรวมข้อมูลจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้แน่ใจได้ว่าการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องและหรือธุรกรรมต้องสงสัยถูกตรวจจับ
8.1 หาก Trader สามารถทำธุรกรรมได้หลากหลายผลิตภัณฑ์ในหลายตลาด อาจถูกติดตามดูแลโดย Middle office ต่างทีมกัน จึงควรรวบรวมข้อมูลจาก Middle office ทุกทีมเพื่อใช้ติดตามผลการปฏิบัติงานของ Trader แต่ละราย นอกจากนี้ควรมีขั้นตอนการนำเสนอและการรวบรวมตัวชี้วัดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อให้ผู้บริหารในห้องค้าและหน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุมใช้ประเมินผลการปฏิบัติงาน Trader ได้อย่างครบถ้วนเหมาะสม
8.2 ตัวอย่างเช่น สง.มีการกำหนดว่า Trader ทำผิดกี่ครั้งจะได้รับ Yellow flag และกำหนดว่า Yellow flag กี่ครั้งจึงเท่ากับ Red flag เพื่อพิจารณาว่า Trader รายนั้นมีการทำผิดในเรื่องเดิมๆ หลายครั้งหรือไม่
8.3 สง. ควรให้ความสนใจกับข้อสังเกตของผู้ที่อยู่ภายนอกองค์กร เช่น การตั้งข้อสังเกตโดยตลาดหลักทรัพย์ว่าสง.มีการทำธุรกรรมซื้อขายในปริมาณที่ผิดปกติ สง. ควรมีการนำเสนอข้อมูลดังกล่าวร่วมกับข้อมูลต้องนำเสนอผู้บริหารด้วย เพื่อพิจารณาว่าควรตั้งเป็นข้อสังเกตและติดตามดูแลหรือไม่อย่างไร นอกจากนี้ประเด็นที่ถูกตั้งเป็นข้อสังเกตจากตลาดฯ ควรมีการสืบสวนหาข้อเท็จจริงโดยหน่วยงานที่เป็นอิสระจาก Trader หรือไม่

ยังครับ ยังไม่จบเท่านี้ ไว้คราวหน้าผมจะมาเล่าต่ออีกในกรณีศึกษา การทุจริตของธนาคาร Societe Generale (SG) ครับ