ความเชื่อ กับ การพัฒนาเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน / Trust and Sustainable Development ตอนที่ 14

เมษายน 4, 2018

Fintech กับการพัฒนาเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน (Fintech and Sustainable Development)

Fintech (Financial Technology) –  New Technology and Dealing with Disruption

จากภาพข้างต้น เป็นภาพในมุมกว้างๆ ที่จะทำให้ผู้อ่านได้เห็นภาพโดยรวม เป็นกรอบใหญ่ๆ ที่ใช้ในความหมายของคำว่า “Fintech” ซึ่งต่อไปจะขยายความไปถึงเรื่องเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น Bitcoin, Cryptocurrency/Digital Currency … เป็นต้นนั้น เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดที่นำไปสู่ การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม (Design Thinking) ซึ่งเป็นกระบวนการคิดในการแก้ไขปัญหา และการออกแบบผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกระบวนการที่ต้องการทำความเข้าใจในปัญหาต่างๆ อย่างลึกซึ้ง ซึ่งต้องเอาผู้ใช้เป็นศูนย์กลางและสร้างความคิดสร้างสรรในมุมมองของผู้มีผลประโยชน์ร่วม (Stakeholders) ที่เกี่ยวข้องอย่างได้ดุลยภาพ ตามหลักการของ COBIT 5 เพื่อนำมุมมองเหล่านั้นมาสร้างเป็นไอเดีย และแนวทางแก้ไขปัญหา รวมทั้งการสร้างคุณค่าเพิ่ม เพื่อตอบสนองความต้องการในการบรรลุผลประโยชน์ของประเทศ ขององค์กร และนำเอาแนวทางต่างๆ มาทดสอบและพัฒนา เพื่อให้ได้แนวทางหรือนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ เพื่อการก้าวสู่ผลประโยชน์หรือการแก้ไขปัญหาที่ต้องการให้กับผู้ใช้กลุ่มต่างๆ ซึ่งในช่วงแรกนี้ผมจะยังไม่กล่าวถึงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ Design Thinking นี้

หากจะกล่าวถึงกระแสการเปลี่ยนแปลงที่ได้เกิดขึ้นในโลกธุรกิจ และกระแสของการทำลายล้าง (Disruption) นั้น กระแสโลกาภิวัฒน์ มีผลรุนแรงมาตั้งแต่ช่วงปี 1990 ที่โลกทั้งใบเชื่อมกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม การลงทุน และการแข่งขัน ทำให้เกิดโลกไร้พรมแดน การปรับตัวของธุรกิจคือการวางแผนจากความคิดที่ลดต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) เพราะต้นทุนคงที่เป็นภาระทางการเงิน และทำให้ไม่เกิดความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมยุคใหม่ทางด้านดิจิตอล ซึ่งทำให้เกิดสภาวะความไม่เหมาะสมกับสภาพการแข่งขัน

ความเชื่อ ความเข้าใจ และผลกระทบของ Digital Era กับการล่มสลายจากการกำกับในเรื่อง Dealing with Disruption

กระแสของ Big Data จากการที่มีการบันทึกติดตามพฤติกรรมต่างๆ ของผู้บริโภค เพื่อดูว่ากำลังสนใจหรือกำลังค้นหาข้อมูล หรือกำลังติดตามข้อมูลอะไรบนสื่อสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น Youtube, Facebook หรือ Line ทำให้เกิดกระแสธุรกิจที่จะต้องเก็บข้อมูลลูกค้าเพิ่มขึ้นมาก เพื่อสามารถนำมาวิเคราะห์ไปสู่การสร้างนวัตกรรมที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าและผู้มีผลประโยชน์ร่วมได้

กระแสสกุลเงิน Digital หรือ Cryptocurrency สกุลเงินที่โด่งดังในตอนนี้คือ Bitcion ที่เริ่มมีการซื้อขายครั้งแรกในปี 2011 ซึ่งเกิดจากความเชื่อในกระบวนการที่มีการสอบยันกันและกัน ซึ่งมีรายละเอียดที่จะเล่าสู่กันฟังในภายหลังนะครับ เพราะในช่วงแรกของ Fintech กับการพัฒนาเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ผมเพียงจะเกริ่นนำให้รู้ว่า “ความเชื่อ” จะนำไปสู่การพัฒนาเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ตามหัวข้อหลักนั่นเอง แต่ผมอดที่จะกล่าวไม่ได้ว่า คำว่า Cryptocurrency นั้นมาจากคำว่า Cryptography ซึ่งแปลว่าการเข้ารหัส กับคำว่า Currency ซึ่งมีความหมายว่า สกุลเงิน ความสำเร็จในการใช้เครือข่ายระหว่างกันเพื่อแบ่งปันข้อมูลและตรวจสอบเงินอิเล็กทรอนิกส์ แต่ละหน่วยว่าถูกต้องหรือไม่นั้น เป็นจุดกำเนิดของการใช้วิธีการเข้ารหัส (Cryptography) การเข้ารหัสนี้ทำให้สามารถสร้างสกุลเงินอิเล็กทรอนิกส์ อันมีส่วนประกอบสำคัญของสกุลเงินไม่แตกต่างไปจากสกุลเงินประเภท “Fiat Money” ซึ่งก็คือ บัญชีเพื่อบันทึกปริมาณเงิน (Account) ยอดคงเหลือของเงิน (Balance) และรายการแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นโดยใช้เงินสกุลนั้น (Transection) ซึ่งเงินประเภท Fiat Money ทั่วไปที่ทุกคนรู้จักกันดี ก็จะเข้าใจปัญหาเรื่อง Dubble Spending ได้โดยไม่ยาก ซึ่งจะรู้จักกันในเรื่องของการปลอมแปลงเงินนั่นเอง

วิธีการของ Blockchain นั้น เป็นการบันทึกความถูกต้องของเงินในสกุลเงิน รวมทั้งยอดคงเหลือเอาไว้ในทุกหน่วย แทนการเก็บความถูกต้องและตรวจสอบความถูกต้อง โดยใช้คอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง (Central Server) ในการทำหน้าที่นั้น ซึ่งในการพัฒนาสกุลเงินอิเล็กทรอนิกส์ก่อนหน้านั้น ใช้หน่วยกลางทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของเงินแต่ละหน่วย รวมทั้งทำหน้าที่เก็บยอดเงินคงเหลือด้วย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ

ทั้งนี้ ในระบบเครือข่ายกระจายศูนย์ (Decentralized Network) นั้น ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีคอมพิวเตอร์กลาง (Central Server) หรือมีหน่วยศูนย์กลางทำหน้าที่ แต่ใช้หน่วยทุกหน่วยในเครือข่ายทำหน้าที่ดังกล่าว ทั้งนี้ ทุกหน่วย (คอมพิวเตอร์) ในเครือข่ายจะมีรายการทุกรายการที่เกิดขึ้น เพื่อใช้ในการตรวจสอบรายการใหม่ที่เกิดขึ้น และการตรวจสอบเช่นนั้นก็จะช่วยป้องกันปัญหาการปลอมแปลงเงินแต่ละหน่วย หรือที่เรียกว่า การป้องกันปัญหา Dubble Spending นั่นเอง

ข้างต้นเป็นการเกริ่นนำของผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อการมี การใช้ หรือการไม่มี การไม่ใช้ หรือการมี การใช้ที่ไม่มีคุณภาพ เพราะขาดความเข้าใจจริงของผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับบนของประเทศ หรือระดับบนขององค์กร ที่เกี่ยวข้องกับ Fintech New Technology and Dealing with Disruption” ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับ การบริหาร และกรอบการดำเนินงานระดับประเทศ และระดับองค์กร ภายใต้กรอบการดำเนินงานทางธุรกิจยุคใหม่ คือ ยุค Thailand Digital 4.0 สำหรับการกำกับดูแลและการบริหารจัดการไอที และเทคโนโลยียุคใหม่ตามที่กล่าวเป็นตัวอย่างข้างต้น ซึ่งผมจะค่อยๆ เล่าสู่กันฟังในรายละเอียดที่เกี่ยวข้องในตอนต่อๆ ไป

สำหรับตอนนี้ ขอนำเรื่องการจัดงาน Bangkok FinTech Fair 2018 ที่จัดโดย ธนาคารแห่งประเทศไทย ในระหว่างวันที่ 19-20 มีนาคม 2561 ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งผมได้ไปร่วมงานด้วยทั้ง 2 วัน มาเล่าสู่กันฟัง โดยเริ่มตั้งแต่บทสรุปของการจัดงานครั้งนี้ และคำกล่าวเปิดงานโดย ดร. วิรไท สันติประภาพ ผู้ว่าการ ธปท. เพื่อให้ทราบถึงความห่วงใยที่มีต่อการกำกับสถาบันการเงิน และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่สนใจ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและการเงิน และการขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ โดยเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพบริการทางการเงิน ปรับปรุงการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีความหลากหลายและเข้าถึงผู้ใช้บริการได้อย่างทั่วถึง ทั้งในรูปแบบสรุปโดยย่อเป็นภาษาไทย และคำกล่าวเปิดที่เป็นภาษาอังกฤษโดยละเอียด ซึ่งนำมาจาก เว็บไซต์ของ ธปท. เพื่อให้เห็นภาพโดยรวมอีกมิติหนึ่งในมุมมองของ ธปท. ที่เกี่ยวกับ Fintech และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการนำไปสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับผู้มีส่วนได้เสียอย่างได้ดุลยภาพ เพื่อการกำกับดูแลกิจการที่ดีแบบบูรณาการ

 

คำกล่าวเปิดงานโดย ดร. วิรไท สันติประภาพ ผู้ว่าการ ธปท. ภาคภาษาไทย

คำกล่าวเปิดงานโดย ดร. วิรไท สันติประภาพ ผู้ว่าการ ธปท. ภาคภาษาอังกฤษ