Digital Economy in Thailand – เศรษฐกิจดิจิตอล (ตอนจบ)

มีนาคม 31, 2016

การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลกับความยั่งยืน เพื่อความก้าวหน้าของประเทศ

digital economy ตอนจบ

ในตอนที่ 14 ผมได้กล่าวถึง Digital Economy กับความเสี่ยงในการบริหารจัดการ IT ระดับประเทศ และในระดับองค์กร เพื่อให้การพัฒนาที่สำคัญยิ่งยวดนี้มีกรอบในการพัฒนาที่ชัดเจน ที่ควรจะเริ่มจากแนวความคิดที่เข้าใจถึงคำว่า การบริหารแบบบูรณาการ อย่างแท้จริง ซึ่งควรอยู่ภายใต้กรอบการกำกับดูแลและการบริหารการจัดการ IT ระดับประเทศ ที่สามารถเชื่อมโยงกับกรอบการดำเนินงานการกำกับดูแล และการบริหารจัดการ IT ระดับองค์กร ที่เป็นรูปธรรมภายใต้หลักการของ GEIT – Governance Enterprise of IT ที่ผมได้นำเสนอและคุยกับท่านผู้อ่านตลอดมาตั้งแต่ตอนที่ 1 ถึงตอนที่ 14 ที่ผ่านมา เพราะหากแนวความคิดไม่อยู่ภายใต้กรอบ GEIT ดังกล่าว ก็น่าจะเกิดความเสี่ยงในหลายมิติ ในหลายปัจจัยเอื้อที่มีผลกระทบต่อภาพใหญ่ของ IT Process Goals  ที่กระเพื่อมไปถึง IT-Related Goals และกระทบต่อ Enterprise Goals และ National Goals ที่จะส่งผมทางลบต่อ National Governance ในการสร้างคุณค่าเพิ่ม ที่ไม่อาจตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ของการกำกับดูแลในการพัฒนาต่อนโยบาย Digital Economy ในองค์ประกอบของการได้รับผลประโยชน์ของประเทศ ที่ไม่อาจจะบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม และเพียงพอต่อผลประโยชน์ที่จะได้รับ และทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่ไม่เกิดประโยชน์สูงสุด ในการตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียระหว่างประเทศและในประเทศ

ภาพนิ่ง1

ดังนั้น การติดกระดุมเม็ดแรกที่เกิดจากความคิด และการมองไปข้างหน้า ที่อาจใช้เป็นกรอบในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอล เพื่อความยั่งยืน เพื่อความก้าวหน้าของประเทศ  ตามความในวรรคต้นที่ผมกล่าวไปแล้วนั้น จะเป็นความเสี่ยงขั้นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งยวดหากเปรียบเทียบในอีกมุมมองหนึ่ง ก็คือ การขาดความคิด ที่ควรจะเริ่มจากการออกแบบสถาปัตยกรรม หรือแบบพิมพ์เขียวของการสร้างอาคารขนาดใหญ่ ที่ไม่ทราบว่าควรจจะออกแบบอย่างไร จึงจะสามารถใช้อาคารนี้ให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ที่ชื่อว่า อาคารเศรษฐกิจดิจิตอล จึงมีผลไปถึงการสร้างรากฐานหรือเสาเข็มที่มีความเหมาะสมต่ออาคารนี้ ถึงช่วงเวลาที่ผมกำลังกล่าวอยู่นี้ ท่านผู้อ่านพอจะเห็นภาพไหมครับว่า อะไรจะเกิดขึ้นกับอาคารที่กำลังสร้างขึ้นในขณะนี้ และเวลาข้างหน้าในอนาคต ที่เกิดจากการมองภาพการใช้ประโยชน์จากอาคารแต่ละห้อง ความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ของอาคารนี้กับระบบรักษาความปลอดภัย ที่มีมุมมองที่ต้องการความเข้าใจอย่างมากมาย จากสารพัดความเสี่ยง ที่เกิดจากกายภาพ (Physical Risk) ในระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางหลักตรรกะ – Logical Risk และอื่น ๆ รวมทั้ง บางส่วนจากบางมิติของ Cybersecurity Risk  ในบางมุมมอง เช่น

National / Organizational Risk

  • Organizational Design and Structural Risk
  • Organizational Governance, Compliance and Control Risk
  • Cultural Risk

Technical Risk

  • Architecture-relaed Risk
  • Application Layer Risk
  • Risk related to the operating system layer
  • IT Infrastructure Risk
  • Technical Infrastructure Risk

Social Risk

  • People Risk
  • Individual Culture Risk
  • Risk Associated With Human Factors
  • Emergence Risk

ภาพนิ่ง2

ภาพนิ่ง3

ภาพนิ่ง4

ความเสี่ยงที่เกิดจากหัวข้อหลักบางหัวข้อ และหัวข้อย่อยที่เกี่ยวกับ Cybersecurity Risk ตามที่กล่าวข้างต้นนั้น มีผลกระทบมากมาย หากขาดความรู้และความเข้าใจที่แท้จริง เพื่อสนองตอบต่อการพัฒนาระบบ Digital Economy ของชาติ เพราะต้องการความคิด ความเข้าใจแบบบูรณาการ และต้องการการปฏิบัติแบบบูรณาการอย่างแท้ัจริง ในทุกระดับของกระบวนการจัดการที่ดี ที่แน่นอนว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรอบการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตามหลักการของ GEIT ในทุกมิติ และรวมทั้ง Standards และ Best Practice อื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง ที่เชื่อมโยงกับกรอบการดำเนินงานและหลักการของ Governance of Enterprise IT ระดับประเทศ

ภาพนิ่ง5

ในตอนที่ 14 ของ Digital Economy ผมตั้งใจที่จะอธิบายถึงรายละเอียดของความเสี่ยงที่สำคัญ ๆ ที่มีผลกระทบต่อโครงสร้าง digital Economy ของประเทศไทย แต่เมื่อพิจารณาในหลายมิติ และองค์ประกอบของความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเสี่ยงจาก GEIT Risk หรือความเสี่ยงที่ขาดความรู้และความเข้าใจของ กรอบการดำเนินงานทางด้าน Digital Economy สำหรับการกำกับดูแลที่ดี และการบริหารจัดการ IT ที่ดี ระดับประเทศและระดับองค์กรแล้ว พบว่ามีเรื่องมากมายนะครับ ที่จะต้องคุยและเล่าให้ฟัง ถึงแม้จะพูดคุยในระดับกว้าง ๆ ไม่ลึกมากนัก ก็อาจต้องใช้ัเวลาอีกหลายตอนกว่าจะเล่าเรื่องความเสี่ยงสำคัญ ๆ ต่อกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอล ให้ได้เห็นภาพอย่างมีนัยสำคัญ และเพียงพอต่อกระบวนการทางความคิด ที่ต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ และอาจเรียกว่า Mind Map ในการพัฒนาโครงการ Digital Economy อย่างเป็นระบบ ซึ่งควรจะเริ่มต้นจาก การทำความเข้าใจถึงความต้องการสร้างระบบงาน กระบวนการทำงาน ที่ต้องเริ่มจาก การสร้างสถาปัตยกรรม โดยมีกรอบต่าง ๆ ที่สามารถครอบคลุม และควบคุมความเสี่ยงจากการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลได้ ดังเช่นที่ผมยกตัวอย่างของ Cybersecurity Risk ในบางมุมมองตามตัวอย่างข้างต้น ก็เป็นเพียงส่วนน้อยนิดของความเสี่ยงที่มีต่อกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอล ผมจึงขออนุญาตไม่อธิบายถึงความเสี่ยงและผลกระทบในมิติหลักต่าง ๆ ตามที่ได้ตั้งใจไว้ตั้งแต่แรก และ

ภาพนิ่ง6

ขอให้ท่านผู้อ่านที่ติดตามเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น และต้องการศึกษาถึงเรื่องความเสี่ยง การควบคุม การกำกับ การบริหาร การตรวจสอบ ตามฐานความเสี่ยงในแง่มุมต่าง ๆ โปรดศึกษาได้จากแหล่งต่าง ๆ หรืออย่างน้อยจาก COBIT 5 for Risk  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Family หนึ่งของ COBIT5 และ ISACA สากล ที่ผมใช้เป็นแนวคิดสำคัญในการแลกเปลี่ยนและแชร์ความเห็นกับท่านผู้อ่านที่สนใจในเรื่องของ เศรษฐกิจดิจิตอล – Digital Economy

ภาพนิ่ง7

แต่เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เห็นความเสี่ยงในบางมุมมองที่เกี่ยวข้องในภาพโดยรวมในบางมิติ ต่อจากที่ผมได้กล่าวไว้ในตอนต้น ผมจึงขอนำเสนอแผนภาพและต้องขอขอบคุณ อาจารย์ปริญญา หอมอเนก จาก ACIS Professional Center และ Cybertron Company Limited ที่เอื้อเฟื้อแผนภาพและข้อมูลต่อไปนี้มาให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจเพิ่มเติมของความเสี่ยงและการสร้างคุณค่าเพิ่มจากการพัฒนา Digital Economy ในบางมุมมองของ Cybersecurity Risk และแนวการบริหารจัดการที่อธิบายด้วยภาพ สำหรับรายละเอียดในการสร้างความเข้าใจ ในการกำกับ การบริหาร ในส่วนที่เกี่ยวข้องก็ขอให้ท่านผู้อ่านได้ศึกษา และติดตามข้อมูลและสารสนเทศ  และการพัฒนาในเชิงป้องกันปัญหาและการแก้ไขปัญหา ที่อาจจะเกิดขึ้นจากแหล่งและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยนะครับ

ภาพนิ่ง8

ผมขออภัยทุกหน่วยงาน และทุกท่านที่อาจมีความเห็นแตกต่างกัน ในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอล ซึ่งเป็นความสำคัญยิ่งยวดของประเทศไทยในปัจจุบัน เพราะอาจมีผลกระทบต่อการมี การใช้ทรัพยากรของชาติอย่างมหาศาลในอนาคต หากขาดความรู้ ความเข้าใจในหลักการบริหารความเสี่ยงระดับประเทศ ซึ่งอาจจะเกิดจากแนวความคิดที่ขาดกรอบการพัฒนาที่มีหลักการและกรอบการดำเนินงานที่ถูกต้อง ที่สามารถอ้างอิงได้ ตามที่ผมได้เล่าสู่กันฟังมาตั้งแต่ต้น และขอขอบคุณท่านผู้อ่านทุกท่านที่ได้ติดตามอ่านมาถึงตอนสุดท้ายของ เศรษฐกิจดิจิตอล นี้