Digital Economy in Thailand – เศรษฐกิจดิจิตอล (ตอนที่ 6)

พฤษภาคม 3, 2015

การประเมินบทบาทหน้าที่ กิจกรรม และความสัมพันธ์ของการกำกับและการบริหาร Digital Economy บางมุมมอง

ในตอนที่ 5 ผมได้กล่าวในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลกิจการที่ดีทางด้านเศรษฐกิจดิจิตอลในภาครัฐ ที่เกี่ยวข้องกับหลักการ นโยบาย และการกำหนดกรอบและขอบเขตของงาน ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับ Digital Economy ซึ่งในความเห็นของผมเป็นความจำเป็นยิ่งยวดที่เราควรจะทำความเข้าใจให้ตรงกันว่า หลักการของ Digital Economy และหลักการของการกำกับดูแลกิจการที่ดีทางด้าน DE-Digital Economy และองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ ตามนโยบายและเป้าหมายของรัฐบาล ในการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวไปสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิตอล โดยทางลัด กำหนดบทบาทตนเองในลักษณะของผู้กำกับดูแลงานทางด้าน DE ซึ่งอาจเรียกตนเองว่าเป็นผู้อำนวยความสะดวก หรือ Facilitator หรือผู้อำนวยการในการกำหนดกรอบการดำเนินงาน และเป็นผู้ประเมินผล เป็นผู้สั่งการ เป็นผู้เฝ้าติดตามกระบวนการจัดการ ซึ่งรวมทั้งการกำหนดโครงสร้าง และอื่น ๆ  ผ่านนโยบายทางด้าน DE และภาครัฐได้ศึกษาและเตรียมดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้อง เช่น การร่างกฎหมาย การกำหนดโครงสร้าง ซึ่งมีลักษณะอันอาจจะกล่าวได้ว่า เป็นการกำหนดกรอบ และทิศทางในการดดำเนินงานในการกำกับฯ เพื่อส่งทอดเป้าหมายไปยังในกลุ่มที่เกี่ยวข้องของภาครัฐ และอาจวางแนวทางเพื่อให้ภาคเอกชนไปดำเนินการต่อ หรือกำหนดให้ภาคเอกชนเป็นผู้ดำเนินการ ที่จำเป็นที่สอดคล้องกับแนวการกำกับของภาครัฐในฐานะผู้อำนวยความสะดวก ซึ่งต้องมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดในการถ่ายทอดความต้องการบรรลุผลลัพธ์ ตามนโยบาย DE ของรัฐจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะประเมินตนเองในลักษณะที่เกรียกว่า CSA – Control Self Assessment หรืออาจจะใช้คำที่เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่า ภาครัฐจำเป็นจะต้องประเมินศักยภาพที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงในบทบาทของตนในกรอบการควบคุม กำกับดูแล IT ในระดับประเทศ และระดับองค์กร ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน สั่งการ และเฝ้าติดตาม ในกระบวนการกำกับนั่นคือ :-

1. กระบวนการสร้างความมั่นใจในการกำหนดกรอบการดำเนินงานทางด้าน DE ที่มีหลักการที่ยอมรับได้

2. การสร้างความมั่นใจในกระบวนการส่งมอบผลประโยชน์ที่ประเทศและองค์กรที่เกี่ยวข้องจะได้รับประโยชน์ตามความต้องการของธุรกิจ  ที่เชื่อมโยงกับการดูแล IT และการบริหารทางด้าน IT

3. ความมั่นใจในการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรทางด้าน IT เช่น

  • การสร้างคุณภาพและความน่าเชื่อถือให้กับสารสนเทศที่เป็น Input หรือ Output เข้าสู่หรือออกจากกระบวนการสู่เป้าหมายที่กำหนด
  • การมีบุคลากร/จัดให้มีบุคลากรที่ต้องมีทักษะ ความรู้ และความสามารถที่จำเป็น สำหรับงานหรือกระบวนการที่ตนเอง/สายงาน ต้องรับผิดชอบ และ
  • ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานของการให้บริการสารสนเทศ เป็นส่วนที่ทำให้กระบวนการต่างๆ ขององค์กรดำเนินไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น เช่น ในการปฏิบัติงานตามกระบวนการหนึ่ง สามารถใช้ประโยชน์จากระบบงานเพื่อช่วยในการปฏิบัติงานตามกระบวนการนั้น

4. การบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการความโปร่งใสต่อผู้มีผลประโยชน์ร่วม และ

5. การบริหารความเสี่ยงของการกำกับดูแล IT ตามโครงการ DE ที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับการบรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบายด้าน DE ภายใต้กรอบการกำกับดูแลทางด้าน DE ที่มีหลักการที่ดีและยอมรับได้ ที่ควรเข้าลักษณะ Good Practise ที่ควรเชื่อมโยงไปยังเป้าประสงค์หลักของ DE นั่นคือ การสร้างประสิทธิภาพ ประสิทธิผล การยกระดับการแข่งขัน ในกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารเศรษฐกิจการเงิน การอุตสาหกรรม และการบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งควรจะประกอบด้วย

  • กระบวนการทำงานที่ดีที่ต้องอาศัยหลักการบริหารแบบบูรณาการที่ควรจะเข้าใจอย่างแท้จริงของคำ ๆ นี้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ การควบคุมการกำกับดูแล IT ระดับประเทศและระดับองค์กร ที่เชื่อมโยงและแยกกันไม่ได้กับเป้าประสงค์หลักของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ DE ทั้งในระดับประเทศ และระดับองค์กร
  • การกำหนดโครงสร้างของการกำกับและโครงสร้างขององค์กรที่ควรจะเชื่อมโยงกับกระบวนการอื่น ๆ ที่กล่าวข้างต้น และต้องเชื่อมโยงกับ
  • วัฒนธรรม จริยธรรม และความประพฤติของบุคลากรขององค์กร ซึ่งหัวข้อนี้เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง และมีผลต่อความสำเร็จและการขับเคลื่อน นโยบายทางด้าน DE

Digital Business and Technology Architecture 1

ผมจะขอยกตัวอย่างของความเสี่ยงบางประการ ที่เกี่ยวข้องกับหลักการ นโยบาย และกรอบการดำเนินงานที่ทางภาครัฐ ต้องเป็นผู้กำหนดทิศทางที่ชัดเจนในเรื่องนี้ ตามที่ปรากฎในแผนภาพข้างต้น เช่น ในกรณีที่รัฐกำหนดโครงสร้างการบริหารที่อาจขาดหลักการที่ดี เป็นที่ยอมรับได้ อ้างอิงได้ จะมีผลทำให้การกำหนดทิศทางการบริหารและการจัดการที่เกี่ยวข้องกับ DE ซึ่งจะมีผลอย่างสำคัญต่อการกำหนดนโยบาย มีปัญหาในทางการกำกับดูแล IT ที่ดี และสะท้อนไปยังปัญหาการบริหารและการจัดวางแนวทาง รวมทั้งการทำแผนงานที่สะท้อนไปยัง การจัดสร้าง จัดซื้อจัดหา การนำไปใช้ และการส่งมอบ การให้บริการทางด้าน IT มีปัญหาทั้งระบบ และมีปัญหาทั้งกระบวนการ ที่ทำให้การเฝ้าติดตาม วัดผลและประเมินผลขาดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ที่เกี่ยวข้องกับ Performance และ Conformance และจะมีปัญหาต่อไปยังการประเมินระบบการควบคุมภายใน และการตรวจสอบความเสี่ยงในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

ทั้งนี้ ผมใคร่ขอออกความเห็นในความเสี่ยงบางมุมมองอย่างสั้น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเอื้อที่ก่อให้เกิดความสำเร็จ ตามนโยบาย DE ที่จะสะท้อนไปยังหลักการบริหารและการควบคุมการกำกับดูแล IT ระดับประเทศและระดับองค์กร เพื่อก้าวสู่นโยบายของ DE ของภาครัฐดังนี้

1. หลักการ นโยบาย และกรอบการดำเนินงาน (Principles, Policies and Framework)
หลักการ นโยบาย ด้าน DE และกรอบดำเนินงานที่กำหนดไว้จะสะท้อนให้เห็นถึง ภาพรวม ทิศทาง กรอบแนวคิด หรือกรอบการปฏิบัติที่องค์กรต้องการให้บรรลุเพื่อบังเกิดความสำเร็จตามที่ต้องการ บุคลากรขององค์กรที่เกี่ยวข้อง ควรยึดตามหลักการ นโยบายที่กำหนดไว้และ ปฏิบัติตามอย่างสอดคล้อง เพื่อให้เกิดผลตามที่องค์กรต้องการ ดังนั้นหากปราศจากหลักการที่ดี มีนโยบายกำหนดไว้อย่างชัดเจนแล้ว และการกำหนดภาพรวม ทิศทาง กรอบแนวคิด หรือกรอบการปฏิบัติที่ต้องการอาจไม่บังเกิดผลตามที่ต้องการได้ เช่น หลักการ “การใช้กรอบการดำเนินงานทางธุรกิจที่เกี่ยวกับการก้าวสู่วัตถุประสงค์ทางด้านเศรษฐกิจดิจิตอล สำหรับการกำกับดูแลและการบริหารจัดการไอทีระดับองค์กร ตามแนวทาง COBIT 5 and ISACA Framework” จะมีผลต่อการทำงานตามหน้าที่และกระบวนการที่ตนเองและสายงานต้องรับผิดชอบ ซึ่งสามารถส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของเศรษฐกิจดิจิตอลได้ โดยการประยุกต์และนำมาใช้อย่างเหมาะสม ตามบริบท (Context) ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิตอล ซึ่งมีปัจจัยทั้งภายในและภายนอกที่่มีส่วนในการกำหนดว่า องค์กร หน่วยงาน กระบวนการ หรือบุคคลควรจะมีการดำเนินอย่างไรในเรื่องที่เกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้

  • บริบททางเทคโนโลยี – ปัจจัยด้านเทคโนโลยีที่มีผลต่อความสามารถขององค์กรในการสร้างคุณค่าจากข้อมูล
  • บริบททางข้อมูล – ข้อมูลมีความถูกต้อง พร้อมใช้งาน เป็นปัจจุบัน และมีคุณภาพ
  • ทักษะ และความรู้ – ประสบการณ์ทั่วไป และทักษะด้านการวิเคราะห์ ด้านเทคนิค และด้านธุรกิจ
  • บริบทด้านโครงสร้างการจัดองค์กรและวัฒนธรรม – ปัจจัยด้านการเมือง และองค์กร ชอบที่จะใช้ข้อมูลมากกว่าใช้สัญชาติญาณหรือไม่
  • บริบทด้านกลยุทธ์ – วัตถุประสงค์ด้านกลยุทธ์ขององค์กร

หากการขับเคลื่อนการกำกับดูแลและการบริหาร Digital Economy ขาดหลักการ นโยบาย และกรอบการดำเนินงานที่ดี เป็นที่ยอมรับได้และเป็นสากลนั้น ย่อมจะเกิดความเสี่ยงในการสัมฤทธิผล ทั้งในด้านการกำกับโดยหน่วยงานภาครัฐ และการดำเนินงาน รวมทั้งการบริหารการจัดการทั้งทางภาครัฐและภาคเอกชน จะเกิดความสับสนในการกำกับและการบริหารแบบบูรณาการ ที่เป็นเรื่องสำคัญยิ่งยวดต่อความสำเร็จตามกรอบเวลาที่ควรจะกำหนดอย่างเหมาะสม ที่สามารถวัดผลได้ ติดตามและปรับปรุงแก้ไขได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะมีปัญหาอย่างมากมายในมุมมองของการบริหารความเสี่ยงแบบบูรณาการ (Integrated Risk Management) ซึ่งมีผลต่อการประเมิน การสั่งการ การเฝ้าติดตามผล ทั้งในระดับการกำกับโดยหน่วยงานภาครัฐ และการจัดการในภาคเอกชน ซึ่งจะมีปัญหาที่อาจเรียกว่า PPP – Public, Private, Partner ทั้งในระดับประเทศ และระหว่างประเทศในอนาคตได้

หากท่านผู้อ่านได้ดูภาพตามที่ผมได้นำเสนอในเรื่องเศรษฐกิจดิจิตอลในตอนที่ 4 และตอนที่ 6 นี้ จะเข้าใจในเรื่องการบริหารแบบบูรณาการที่เชื่อมโยงกระบวนการทางด้าน IT และ Business / Digital Economy and Technology Architecture และองค์ประกอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารแบบบูรณาการ ที่เชื่อมโยงปัจจัยเอื้อสู่ความสำเร็จ ทั้ง 7 ประกาารอย่างแยกจากกันไม่ได้ และที่สำคัญเหนืออื่นใดก็คือ การกำกับดูแลกิจการและการบริหารที่ดี ไม่ว่าในเรื่องใดและบริบทใดก็ตาม จะต้องคำนึงถึง หลักการ นโยบาย และกรอบการดำเนินงาน (Principles, Policies and Framework) ก่อนจะพิจารณาดำเนินการและองค์ประกอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ตามแผนภาพข้างต้น) ซึ่งผมจะขอออกความเห็นในตอนต่อ ๆ ไปนะครับ

อนึ่ง ความเห็นของผมที่เกียวข้องกับ Digital Economy ตั้งแต่ตอนที่ 1 และตอนต่อ ๆ ไปผมได้ความคิดมาจาก กรอบการดำเนินงานทางธุรกิจสำหรับการกำกับดูแล และการบริหารจัดการไอทีระดับองค์กรนั้น เป็นเครดิตของ ISACA สากลโดยแท้จริง ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นกรอบความคิดและการกำกับ รวมทั้งการบริหารได้กับทุกองค์กร ในทุกธุกิจ และทุกขนาด โดยนำมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับบริบทของงานที่เกี่ยวข้อง แน่นอนว่ารวมทั้ง Digital Economy ด้วย

ในตอนต่อไปผมจะได้พูดถึงปัจจัยเอื้ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลักการในการก้าวไปสู่ความสำเร็จของ Digital Economy เพื่อให้สอดคล้องกับการขับเคลื่อนของหน่วยงานภาครัฐ และผู้มีผลประโยชน์ร่วมนะครับ


Digital Economy in Thailand – เศรษฐกิจดิจิตอล (ตอนที่ 5)

เมษายน 8, 2015

การกำกับดูแลกิจการที่ดีทางด้าน Digital Economy โดยภาครัฐ

ท่านผู้อ่านครับ ผมมีปัญหาบางประการเกี่ยวกับ http://www.itgthailand.com มาหลายวันแล้ว หากท่านผู้อ่านพบปัญหาในการติดตามเรื่องราวต่าง ๆ ที่ผ่าน http://www.itgthailand.com ขอให้ท่านผู้อ่านได้มา http://www.itgthailand.wordpress.com นะครับ

ในหัวข้อเศรษฐกิจดิจิตอลตอนที่ 5 นี้ ผมจะขอพูดต่อในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ การทำหน้าที่ในลักษณะผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) หรือผู้อำนวยการตามโครงการนี้ แล้วแต่จะใช้คำใดโดยภาครัฐนั้น ผมมีความเห็นส่วนตัวบางประการที่จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการดำเนินการก่อนก้าวไปสู่การกำหนดนโยบาย การกำหนดกลยุทธ์ และแผนงานหรือโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพราะวิธีการก้าวสู่เป้าหมายทางด้านเศรษฐกิจดิจิตอลนั้น มีเรื่องต่าง ๆ ที่ควรพิจารณามากมาย หากกระบวนการต่าง ๆ ไม่ชัดเจน จะมีปัญหาอย่างมากในการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในอนาคต ซึ่งต้องการการประสานงาน และความเข้าใจโดยรวมอย่างแท้จริง ซึ่งผมอาจจะอธิบายต่อไปจากตอนที่ 4 ดังนี้ครับ

การสัมฤทธิ์ผลของกระบวนการทางด้าน Digital Economy  ควรมีการกำหนดทิศทางของการกำกับดูแลที่เรียกกันว่า Governance ซึ่งในยุคปัจจุบันหมายถึง การสร้างคุณค่าเพิ่ม โดยแบ่งแยกกระบวนการการกำกับดูแล และการบริหารจัดการสำหรับ IT ระดับประเทศและองค์กร ที่เชื่อมโยงกับการบริหารจัดการเพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จ ในมิติต่าง ๆ ของประเทศหรือองค์กรที่ต้ัองการ ซึ่งกระบวนการนี้กล่าวได้ว่า เป็นหน้าที่ของภาครัฐอย่างแท้จริง เพราะจะเกี่ยวข้องกับการควบคุมและการกำกับดูแลทางด้าน IT ที่มีจุดมุ่งหมายหลักไปที่ผลลัพธ์ของ Digital Economy ที่เกิดจากกระบวนการทางด้าน IT ระดับประเทศและระดับองค์กร ที่มีอยู่ 5 กระบวนการและมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างแยกไม่ได้ มิใช่เฉพาะเพียงการสร้างความโปร่งใสต่อผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้น แต่การสร้างความมั่นใจในความโปร่งใสนี้ จะต้องประกอบไปด้วยการประเมิน สั่งการ และเฝ้าติดตาม ในกระบวนการเพื่อสร้างความโปร่งใสเอง และที่จะมีผลต่อการประเมิน สั่งการ และเฝ้าติดตาม อีก 4 กระบวนการหลัก ซึ่งได้แก่

1. การสร้างความมั่นใจในการกำหนดกรอบและทิศทางการดำเนินงานการกำกับดูแลนโยบาย กลยุทธ์ แผนงานและโครงการ ที่จะเชื่อมโยงไปยังพันธกิจและวิสัยทัศน์ในการก้าวสู่ Digital Economy ของประเทศไทย

2. การสร้างความมั่นใจในการส่งมอบผลประโยชน์ทุกมิติของการบริหารการจัดการ แนวทางปฏิบัติของกระบวนการที่จะนำไปสู่ดุลยภาพของเป้าประสงค์ที่จะเกิดขึ้นในทุกมิติที่เกี่ยวข้อง เช่น

  • มิติของการพัฒนาศักยภาพ คุณภาพ ความรู้ความเข้าใจ ของบุคคลากรในทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ผู้มีหน้าที่ในการกำกับดูแล (Governance) ควรจะกำหนดเป็นกรอบที่ชัดเจนว่าจะมีวิธีการอย่างไร และจะมีการสื่อสารอย่างไร เพื่อให้หน่วยงานของภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง มีความเข้าใจในเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อการขับเคลื่อน Digital Economy ไปสู่พันธกิจและวิสัยทัศน์ที่ต้องการ
  • มิติที่เกี่ยวข้องกับการสร้างนวัตกรรม หรือกระบวนการทำงานใหม่ทางด้านธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ การเงิน การธนาคาร การผลิต การบริการ รวมทั้งโลจิสติกส์ต่าง ๆ ในการสร้างคุณค่าเพิ่ม ด้วยกระบวนการทำงานใหม่ที่จะต้องอยู่ภายใต้กรอบและวิธีการ รวมทั้งทิศทางที่หน่วยงานกำกับดูแลในภาครัฐ และรวมทั้งภาคเอกชนในส่วนที่เกี่ยวข้องในการสร้างกระบวนการทำงานใหม่ที่ถูกขับเคลื่อนโดยกระบวนการทางด้าน IT อย่างบูรณาการ ซึ่งมีรายละเอียดค่อนข้างมาก และแน่นอนว่า กระบวนการนี้ภาครัฐจะต้องมีระบบการประเมิน การสั่งการ และการเฝ้าติดตามผลในแต่ละขั้นตอน และในแต่ละกระบวนการ ตั้งแต่มิติของการพัฒนาศักยภาพบุคคลากร เพื่อก้าวสู่ความมั่นใจในการสร้างคุณค่าเพิ่มที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานใหม่ ตั้งแต่ระดับผู้ดูแลนโยบายของรัฐ รวมไปถึงผู้ปฏิบัติงานทุกกระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้อง และแน่นอนทั้ง 2 กระบวนการดังกล่าว จะเกี่ยวข้องกับ
  • มิติในการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า และผู้มีส่วนได้เสีย ที่สามารถพิสูจน์ได้ ซึ่งขั้นตอนนี้จะเกี่ยวข้องกับการสร้างภาพพจน์ ความน่าเชื่อถือ การลดต้นทุนจากการใช้กระบวนการทางด้าน IT ที่มีศักยภาพ และอื่น ๆ ที่แน่นอนว่าจะต้องมีการประเมิน สั่งการ และเฝ้าติดตามในกระบวนการนี้ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการใน 2 มิติแรก
  • ทั้ง 3 มิติที่กล่าวจะมีส่วนสำคัญในการผลักดันความสำเร็จของบริการของผู้ใช้ข้อมูลและสารสนเทศในกระบวนการของ Digital Economy ซึ่งอาจสรุปได้ว่า เกิดการสร้างคุณค่าเพิ่มที่เป็นรูปธรรมที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน เพื่อสนองตอบความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียตามหลักการของ Governance ที่แน่นอนว่าจะต้องผ่านกระบวนการประเมิน สั่งการ และเฝ้าติดตาม โดยผู้อำนวยความสะดวกหรือผู้อำนวยการหน่วยงานภาครัฐที่ไม่ควรจะเป็นความรับผิดชอบของภาคเอกชน อย่างน้อยภายใต้กรอบหลัก ๆ ตามที่กล่าวนั้น
  • ทั้ง 4 กระบวนการตามมิติดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับการสร้างความมั่นใจในความโปร่งใสต่อผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งความโปร่งใสในที่นี้ก็ควรจะหมายถึงกระบวนการทั้ง 4 ตามที่กล่าวข้างต้น ที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างแยกกันไม่ได้ ภายใต้หลักการของ การประเมินผล การสั่งการ และเฝ้าติดตามนั่นเอง

เมื่อมาถึงตอนนี้ ท่านผู้อ่านคงจะเข้าใจตรงกันนะครับว่า การมีและการสร้างความโปร่งใสต่อผู้มีส่วนได้เสียนั้น มิใช่มีเพียงความหมายว่า  สามารถพิสูจน์ผลของการกระทำที่สามารถควบคุมได้ และสามารถตรวจสอบได้เท่านั้น แต่กระบวนการสร้างความมั่นใจในกระบวนการโปร่งใสนี้ ยังจะหมายถึง ความมั่นใจในทั้ง 5 กระบวนการตามที่กล่าวข้างต้น นั่นก็คือ ความโปร่งใสจะต้องประกอบด้วย การสร้างความมั่นใจให้กับผู้มีผลประโยชน์ร่วมว่า การกำกับดูแลทางด้าน Digital Economy ได้มีการกำหนดกรอบและทิศทางที่ชัดเจน และเชื่อมโยงไปยังปัจจัยเอื้อที่ก่อให้เกิดความสำเร็จ ที่เกี่ยวข้องกับ

1. หลักการและความเข้าใจในการกำกับและเข้าใจวิธีปฏิบัติในแบบองค์รวม เพื่อการสัมฤทธิ์ผล ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและกรอบการดำเนินงานทางด้าน Digital Economy ในข้อนี้ ท่านผู้อ่านคงสังเกตได้นะครับว่า นโยบายจะต้องมีหลักการและกรอบการดำเนินงานที่กำหนดทิศทางและวิธีการทำงานอย่างเป็นกระบวนการตามมิติทั้ง 5 ตามที่ได้กล่าวไว้ในข้อ 2 ข้างต้น และแน่นอนว่า หลักการบริหาร Digital Economy อย่างเป็นกระบวนการนั้น จะต้องเชื่อมโยงด้วยกระบวนการบูรณาการ ที่เชื่อมโยงระหว่างเป้าประสงค์ทางด้าน Digital Economy กับเป้าประสงค์ของประเทศ และขององค์กรที่เกี่ยวข้องทางด้าน IT และ Non-IT ซึ่งผู้อำนวยความสะดวกและผู้อำนวยการทางด้าน Digital Economy นี้ควรจะเข้าใจทั้ง 2 ภาพอย่างบูรณาการที่แยกกันไม่ได้

2. กระบวนการซึ่งมีเรื่องต่าง ๆ ที่จะกล่าวอีกมากมายในตอนต่อ ๆ ไป

3. โครงสร้างองค์กร

4. วัฒนธรรม จริยธรรม และพฤติกรรมในการทำงาน

ซึ่งในข้อ 2 – 4 นี้จะต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งและแยกกันไม่ได้ในทุกกระบวนที่เกี่ยวข้องกับหลักการ นโยบาย และกรอบการดำเนินงาน และยังจะต้องเชื่อมกับการบริหารจัดการทรัพยากร ที่มีปัจจัยเอื้อที่เกี่ยวข้องอีก 3 เรื่องด้วยกันคือ

5. การบริหารสารสนเทศ

6. กระบวนการบริหารโครงสร้างพื้นฐานและระบบงาน

7. การบริหารบุคลากร ทักษะด้านศักยภาพ ที่เป็นพื้นฐานสำคัญยิ่งในการขับเคลื่อนปัจจัยเอื้อทั้ง 7 นี้อย่างเป็นบูรณาการ

ดังนั้น นโยบายที่เกี่ยวข้องกับ Digital Economy จึงจะต้องเกี่ยวข้องกับหลักการของ Governance ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบที่เรียกว่า “Digital Economy Management” อีกหลายกระบวนการ ซึ่งในขั้นตอนนี้ทางผู้อำนวยความสะดวก หรือผู้อำนวยการทางด้าน Digital Economy จะต้องทำหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล การสั่งการ และเฝ้าติดตาม ตามหลักการของ Governance อย่างแยกกันไม่ได้ แต่ความรับผิดชอบในกระบวนการ Management จะอยู่ภายใต้ร่มของ หลักการ Governance ที่เป็นความรับผิดชอบของรัฐฯ ที่มีผู้อำนวยความสะดวกหรือผู้อำนวยการมีหน้าที่รับผิดชอบตามสายงานที่เกี่ยวข้อง

ท่านผู้อ่านครับ ถึงตอนนี้ท่านผู้อ่านคงจะเห็นและเข้าใจตรงกันว่า กระบวนการ รวมทั้งบทบาทหน้าที่และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องและความสัมพันธ์กันนั้น มีเรื่องที่ท้าทายความเข้าใจของผู้อำนวยความสะดวก และผู้อำนวยการที่จะเชื่อมโยงไปยังการกำหนดนโยบาย ที่เกี่ยวข้องกับหลักการ และกรอบการดำเนินงานในเรื่องต่าง ๆ ข้างต้น อย่างมีนัยสำคัญยิ่ง และแน่นอนว่าจะเกี่ยวข้องกับทุกองค์ประกอบของปัจจัยเอื้อที่ก่อให้เกิดความสำเร็จที่ต้องมีการกำกับดูแลอย่างบูรณาการ และเชื่อมโยงกับการกำกับดูแลทางด้าน IT ระดับประเทศและระดับองค์กร และแน่นอนว่าจะต้องบูรณาการและเชื่อมโยงกับการกำหนดเป้าหมายและวิธีการที่ชัดเจน และจะนำไปสู่การกำหนดนโยบาย และหลักการปฏิบัติต่าง ๆ ทั้งหมดนี้เป็นกรอบกว้าง ๆ และเป็นเรื่องหลัก ๆ ของ Governance ที่เกี่ยวข้องกับ Digital Economy

ตอนต่อไปผมจะได้ขยายความในบางเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบทบาทและหน้าที่ของผู้อำนวยความสะดวก หรือผู้อำนวยการที่รับผิดชอบในเรื่องของ Governance ในระดับหนึ่งว่า มีความเชื่อมโยงกับ Management ทางด้าน Digital Economy อย่างไร

ทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องน่าสนใจมากใช่ไหมครับว่า การก้าวไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน มั่งคั่ง มั่นคง จะสร้างความมั่นใจให้กับผู้มีส่วนได้เสียต่อโครงการ Digital Economy นั้น มีเรื่องที่ต้องคุยกันมาก เพราะจะนำไปสู่ความมั่นใจของความสำเร็จในนโยบาย Digital Economy ของประเทศครับ


Digital Economy in Thailand – เศรษฐกิจดิจิตอล (ตอนที่ 1)

ธันวาคม 29, 2014

มองไปข้างหน้ากับเศรษฐกิจดิจิตอล (Look Forward for Digital Economy)

พลเอกประยุกต์ จันทร์โอชา ได้กล่าวถึงเรื่องเศรษฐกิจดิจิตอลพลิกโฉมประเทศไทย ที่ได้จัดขึ้น ณ โรงแรมเซ็นทราราแกรนด์ เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว สรุปใจความได้ว่า รัฐบาลมีนโยบายที่จะปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงกฎหมาย เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดให้มีนโยบายที่เรียกว่า Digital Economy หรือเศรษฐกิจดิจิตอล และนำเสนอต่อสภา ภายในเดือนมกราคม 2558 ทั้งนี้เพราะข้อมูลและสารสนเทศมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการใช้ในการพิจารณาตัดสินใจลงทุน เพื่อให้กระบวนการบริหารและการจัดการที่ดี สามารถลดต้นทุน ประหยัดเวลา และสร้างประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการดำเนินงานได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ ประเทศไทยต้องจัดให้มีศูนย์ประมวลผลข้อมูลกลางระดับชาติ ที่มีประสิทธิภาพ มีความรวดเร็ว เพื่อเชื่อมข้อมูลและสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์ในการพิจารณาและตัดสินใจของผู้บริหาร นักธุรกิจ ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ที่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลนี้ได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้อง รัฐบาลจะจัดให้มีการพัฒนา และให้ความรู้แก่ประชาชน โดยเฉพาะนักธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก สามารถเข้าถึงข้อมูลและบริการต่าง ๆ ของรัฐได้อย่างสะดวก และจะสร้างกลไกในการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนทุกระดับ

Digital Economy and Understanding

การที่รัฐบาลจะส่งเสริม และผลักดันให้มีนโยบายทางด้าน Digital Economy หรือที่เรียกกกันว่า เศรษฐกิจดิจิตอล ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนประเทศไทยไปอีกก้าวหนึ่ง และเป็นก้าวที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะ Digital Economy ได้เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมการบริหารการจัดการในทุกระดับ อันเกิดจากวิวัฒนาการทางเทคโนโลยียุคใหม่ ที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และมีผลกระทบไปถึงกระบวนทัศน์ หรือแนวความคิดใหม่ของการบริหารและการจัดการที่ดี เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียในการสร้างคุณค่าเพิ่ม (Value Creation) ซึ่งเป็นไปตามหลักการบริหารการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Governance) นั้น มีเรื่องที่ควรพิจารณานอกเหนือจากการปรับปรุง กฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบและคำสั่งต่าง ๆ ที่มีความขัดแย้งกับกระบวนการตัดสินใจที่จะนำไปสู่การปฏิบัติในเรื่องของ Digital Economy บางมุมมองดังต่อไปนี้

รัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรจะพิจารณาประเด็นและระบุปัญหา อุปสรรคในการก้าวไปสู่ Digital Economy ในทุกมุมมองของกระบวนการดำเนินงาน โดยมีกรอบในเรื่องนี้คือ

1. ความเข้าใจและความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งในหน่วยงานของรัฐและเอกชน และผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน ซึ่งมีความเข้าใจและความต้องการที่แตกต่างกัน และมีแนวคิดที่ไม่เหมือนกัน ในการก้าวไปสู่การดำเนินงานตามนโยบายทางด้าน Digital Economy ซึ่งจะมีผลต่อกระบวนการดำเนินงานอย่างสำคัญ หากขาดดุลยภาพในการสนองตอบต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ดังนั้น การกำหนดวิสัยทัศน์และนโยบาย พันธกิจ กลยุทธ์ แผนการดำเนินงาน ควรจะกำหนดเป็นกรอบที่ชัดเจน โดยกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่เป็นเรื่องเฉพาะเจาะจง ปฏิบัติได้ วัดผลได้ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และนโยบายทางด้าน Digital Economy ของประเทศ และควรมีกำหนดเวลาที่ชัดเจนที่จะบรรลุผลในแต่ละขั้นตอน และในแต่ละกระบวนการของโครงการต่าง ๆ ที่จะตามมา

2. ความคาดหมายที่พึงได้รับตามนโยบาย Digital Economy ควรพิจารณาถึงองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อให้ได้ชื่อว่า รัฐมีการกำกับและดูแลกิจการที่ดี ตามนโยบายและแผนงานทางด้าน Digital Economy องค์ประกอบหลักที่ควรพิจารณา เพื่อให้แน่ใจว่า การสร้างคุณค่าเพิ่มจากนโยบายนี้จะบังเกิดขึ้นก็คือ ความมั่นใจในผลประโยชน์ที่จะได้รับ ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ที่เกี่ยวกับ…

ก. กระบวนการทำงานที่มีคุณภาพ ที่ควรจะต้องเชื่อมโยงเป้าหมายของประเทศกับเป้าหมายระดับองค์กร กับเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับ IT ได้อย่างแนบแน่น

ข. การพัฒนาทักษะ ความรู้ความเข้าใจของผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงานระดับต่าง ๆ ในการสร้างคุณค่าเพิ่มในระดับประเทศ ระดับองค์กร และในระดับหน่วยงาน ถึงกระบวนการขับเคลื่อนการสร้างคุณค่าเพิ่ม ในมุมมองของเป้าหมายที่ไม่ใช่ IT และเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับ IT

ค. การสร้างความพึงพอใจให้กับ ผู้มีผลประโยชน์ร่วม ในมุมมองของความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูลและสารสนเทศ ที่ได้รับจาก National Data Center เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดพันธกิจ วางแผนทางกลยุทธ์ จากข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพ และใช้ในการตัดสินใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้ข้อมูลและสารสนเทศร่วมกัน ข้ามสายงาน ข้ามองค์กร ข้ามประเทศ

ง. การให้บริการที่รวดเร็ว มีคุณภาพและประหยัดต้นทุน ปัจจัยนี้ จะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและเป็นการวัดผลการดำเนินงาน ตามนโยบาย Digital Economy อย่างแท้จริง

3. ความต้องการของผู้มีผลได้เสียตามนโยบายนี้ นอกจากผู้ที่เกี่ยวข้องควรจะเข้าใจถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับจากนโยบายนี้แล้ว ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้บริหารในองค์กรของรัฐ ทั้งภาครัฐ และเอกชน และหน่วยงานที่เป็นอิสระ หรือกึ่งอิสระ ควรพิจารณาผลประโยชน์ที่จะได้รับตามโครงการนี้ ให้ได้ดุลยภาพกับการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม ที่ต้องคำนึงถึง ความเสี่ยงในระดับองค์กร (Non – IT และ IT) กับดุลยภาพในการใช้ทรัพยากรของประเทศและของหน่วยงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้ง 3 องค์ประกอบนี้ เป็นความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศอย่างแท้จริง

ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างแท้จริงนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องควรมีความเข้าใจอย่างบูรณาการ ตั้งแต่ ข้อ 1., 2. และ 3. เป็นอย่างดี นอกจากที่กล่าว ผู้ที่เกี่ยวข้องควรจะเชื่อมโยงความเข้าใจดังกล่าวในทั้ง 3 ประเด็น มาเชื่อมโยงกับเป้าหมายของปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสำเร็จ (Enablers) ทั้งทางด้าน IT และ Non – IT ในทุกองค์ประกอบหลัก และองค์ประกอบย่อย รวมทั้งปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ที่เชื่อมโยงไปสู่ความสำเร็จตามนโยบาย Digital Economy  ทั้งนี้ เป้าหมายระดับประเทศที่เชื่อมโยงไปยังเป้าหมายระดับองค์กร ที่เป็นเรื่อง Non – IT ทุกเรื่อง จะต้องเชื่อมโยงและจัดให้มีความสัมพันธ์กับเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับ IT อย่างแยกกันไม่ได้ ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดของการขับเคลื่อนความสำเร็จของ Digital Economy ตามนโยบายของรัฐ ซึ่งเป็นก้าวกระโดดในการผลักดัน กระบวนการบริหารและการจัดการอย่างบูรณาการอย่างแท้จริง ความเสี่ยงหรือจุดอ่อนที่จะทำให้โครงการนี้ประสบกับปัญหาในอนาคตก็คือ People – Process – Technology ซึ่งเป็นความเสี่ยงทางด้านการดำเนินงาน (Operational Risk) ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการบริหารความเสี่ยง ที่ต้องได้ดุลยภาพกับการบริหารทรัพยากร

Digital Economy and Criteria

อนึ่ง ก่อนที่ผมจะจบข้อเขียนของผมในหัวข้อ Digital Economy นี้ ซึ่งเป็นกรอบใหญ่เบื้องต้น ของการให้ข้อสังเกตของกระบวนการบริหารและการจัดการที่ดี ตามหลักการ Governance (Corporate Governance + IT Governance) มีเรื่องที่ผมได้กล่าวตอนท้าย ๆ ว่า เป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับ IT ควรจะส่งทอดไปยังเป้าหมายของปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสำเร็จ ซึ่งใกล้เคียงกับหลักกาารบริหาร 7-S Model ดังนี้

  • ความรู้ ความเข้าใจในหลักการ นโยบาย และกรอบการดำเนินงานที่ดี
  • ความรู้ ความเข้าใจในหลักการของกระบวนการบริหารงานที่ดี ที่ควรคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่าง การผลักดันและความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย ในองค์ประกอบที่กล่าวข้างต้น
  • ความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง โครงสร้างการจัดองค์กร ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแบ่งแยกหน้าที่่ และความรับผิดชอบให้เหมาะสมกับนโยบาย Digital Economy
  • ความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง วัฒนธรรม จริยธรรม และพฤติกรรม ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะขับเคลื่อนเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับ IT ที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายของปัจจัยเอื้อที่ก่อให้เกิดความสำเร็จ ที่สามารถส่งต่อไปยังความสำเร็จของเป้าหมายระดับองค์กร และเป้าหมายระดับประเทศ ได้ในที่สุด
  • ความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง การบริหารข้อมูลและสารสนเทศ และการสร้างความน่าเชื่อถือได้ของสารสนเทศ ที่ประมวลโดย National Data Center และการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของการให้บริการ การจัดโครงสร้างพื้นฐาน และระบบงาน
  • ความรู้ ความเข้าใจของการพัฒนาบุคลากร ทักษะ และศักยภาพ ในระดับต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้กำหนดนโยบายและการบริหารงานตามนโยบาย Digital Economy  ผู้บริหารระดับสูง และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

ปัจจัยเอื้อดังกล่าวส่วนใหญ่ในวงการบริหารหลายแห่ง อาจมีความเข้าใจ และให้ความสำคัญในเรื่องนี้ที่แตกต่างกันมาก ซึ่งจะมีผลอย่างสำคัญต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสร้างคุณค่าเพิ่ม เพื่อสนองตอบความต้องการของผู้มีผลประโยชน์ร่วม ตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป

ทั้งนี้ ผมจะออกความเห็นและให้ข้อสังเกตที่อาจจะมีประโยชน์ได้บ้าง ในมุมมองตามที่กล่าวข้างต้น โดยขยายความในแต่ละหัวเรื่องใหญ่ และหัวเรื่องย่อยที่เกี่ยวข้อง และเชื่อมโยงอย่างแยกกันไม่ได้ ระหว่างเป้าหมายของประเทศกับเป้าหมายขององค์กรต่าง ๆ ที่เป็นเรื่อง Non – IT กับเป้าหมายของประเทศกับเป้าหมายขององค์กรต่าง ๆ ในเรื่อง IT หรือ IT – Related ที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายที่เป็นความต้องการของรัฐบาล และผู้มีผลประโยชน์ร่วม ทั้งในและต่างประเทศตามที่จะได้กล่าวในตอนต่อ ๆ ไปนะครับ