Digital Economy in Thailand – เศรษฐกิจดิจิตอล (ตอนที่ 8)

กรกฎาคม 2, 2015

แนวทางการบริหารโครงการ Digital Economy กับ Gantt Chart และ PERT

ในตอนที่ 7 ผมได้พูดถึงโครงสร้างและกรอบการดำเนินงานของเศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy – DE) ที่ผลักดันโดยผู้มีส่วนได้เสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลเป็นผู้นำในเรื่องนี้  และได้ให้ข้อสังเกตในเรื่องเสาหลักของกระบวนการขับเคลื่อน และการวางกรอบการกำกับเศรษฐกิจดิจิตอลอย่างเป็นกระบวนการ ซึ่งต้องมีหลักการ ต้องมีนโยบาย และกรอบการดำเนินงานที่ชัดเจน เพราะเศรษฐกิจดิจิตอล มีงานและกระบวนการต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการพิจารณามากมาย รวมทั้งมีขั้นตอนที่ต้องมีการจัดลำดับงานที่จะทำก่อนและหลัง หรือจะทำพร้อมกันไปแล้วแต่กรณีนั้น เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกำหนดบทบาทของผู้กำกับดูแลกิจการ ซึ่งรัฐมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ โดยได้เขียนกระบวนการทางด้าน Governance ที่ภาครัฐจะต้องสร้างความมั่นใจในกระบวนการสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับผู้มีผลประโยชน์ร่วม และภาครัฐซึ่งมีบทบาทในการกำกับหน่วยงานซึ่งเป็นผู้บริหารแต่ละองค์กรที่เกี่ยวข้องกับ Digital Economy ทั้งที่เป็นหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานภาคเอกชน ตามที่ได้กล่าวไว้ใน DE ตอนที่ 7 โดยมีกระบวนการและตัวอย่าง ประเภทของทักษะที่เกี่ยวข้อง และได้กล่าวถึงหลักการด้านสถาปัตยกรรมองค์กรที่ได้กล่าวถึงการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลในภาพกว้างมาในตอนที่ 7 ตามที่ท่านผู้อ่านได้อ่านมาแล้วนั้น

ท่านผู้อ่านครับ ผมเข้าใจว่าผู้กำกับและผู้ขับเคลื่อนงาน “เศรษฐกิจดิจิตอล” ตามที่ผมได้กล่าวมาแล้วทั้ง 7 ตอนนั้น ได้มีงานหลายอย่างที่ผู้กำกับดูแล DE ได้ทำงานไปแล้วหลายเรื่องด้วยกัน เช่น การกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ การออกกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ฯลฯ ทั้งที่มีผลบังคับใช้ และกำลังจะมีผลบังคับใช้อีกมากมายนั้น น่าจะมี Mind Map ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดกรอบการดำเนินงานด้าน DE และการบริหารจัดการ IT ที่เกี่ยวข้องกับ DE เพื่อตอบสนองความต้องการในการขับเคลื่อนโครงการ DE ที่สำคัญยิ่งของชาติแล้วนะครับ

สำหรับผมเอง ด้วยความเห็นและความเข้าใจส่วนตัวที่สนใจเรื่องนี้เป็นพิเศษ เพราะจากการศึกษาเรื่อง Governance การบริหารความเสี่ยง การบริหารทรัพยากรที่เป็นองค์ประกอบหลักของการสร้างคุณค่าเพิ่มในทุกองค์กร และในระดับ Governance ระหว่างประเทศ ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งและแยกกันไม่ได้นั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของการบริหารโครงการต่าง ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจในมิติต่าง ๆ ว่า ประเทศหรือองค์กรได้รับคุณค่าจากความเข้าใจในเรื่อง Governance ที่ตรงกัน เพราะ Governance ยุค พ.ศ. 2558 หรือ ค.ศ. 2015 นั้น มีคำจำกัดความ ความหมาย กระบวนการกำกับ กระบวนการบริหาร และองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริบท และมิติของกระบวนการจัดการทางด้าน Governance ที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดของการก้าวไปสู่ความสำเร็จของทุกโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการที่สำคัญมากอย่าง Digital Economy

ผมจะยังไม่ลงไปในรายละเอียดลึก ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความหมาย และความแตกต่างของ Governance ในยุคก่อนปี ค.ศ. 2013 กับ Governance ความหมายใหม่ ที่เน้นในเรื่องการสร้างคุณค่าเพิ่ม (Value Creation) ที่มีหลักการ โครงสร้าง และกระบวนการทำงานที่แตกต่างกันในช่วงเวลานี้นะครับ แต่จะออกความเห็นในภาพใหญ่ ๆ ที่ต่อเนื่องการพูดถึงโครงสร้างและกรอบการดำเนินงาน และแนวทางการบริหารโครงการ Digital Economy อย่างมีหลักการ มีนโยบาย และกรอบการดำเนินงานที่ชัดเจน ซึ่งผมได้นำหลักการของ ISACA – COBIT 5 มาอธิบาย ตั้งแต่ DE ตอนที่ 1 มาถึงตอนที่ 7 และจะมีต่อเนื่องในตอนต่อ ๆ ไป ทั้งนี้กรอบของ DE ที่จะพัฒนาตามแนวทางและหลักการของ COBIT 5 นั้นจะอยู่ภายใต้และควรจะปรากฎในโครงสร้างใหญ่ที่สุดที่เป็น Mind Map ของ DE ที่ควรอยู่ในรูปแบบของ Gantt และ/หรือ PERT (Program Evaluation and Review Technique) Charts ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพสำหรับการบริหารทุกโครงการ โดยมีการนำมาใช้และประยุกต์ให้เหมาะสมกับโครงการที่เกี่ยวข้องเช่น DE

ก่อนที่ผมจะคุยกับท่านในเรื่องที่เกี่ยวข้องต่อ ๆ ไปนั้น ผมใคร่ขออธิบายถึง Gantt และ PERT Charts ที่เป็นเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับ “CPM – Critical Path Method” มีประโยชน์ในการบริหารโครงการดังนี้ :-

  • เพื่อใช้ในการบริหารงานแต่ละขั้นตอนให้เป็นไปตามลำดับสำคัญ ก่อน-หลัง หรือพร้อมกันสำหรับงานบางลักษณะ ก่อนที่จะก้าวไปสู่การทำงานในขั้นตอนต่อ ๆ ไป ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับโครงการขนาดใหญ่อย่าง DE
  • เพื่อช่วยให้ผู้รับผิดชอบโครงการในภาพของ DE โดยรวม และผู้รับผิดชอบของกระบวนการงานย่อย ๆ สามารถบริหารเวลา บุคลากร การใช้เครื่องไม้เครื่องมือ และทรัพยากรต่าง ๆ ที่เหมาะสมได้ ภายใต้กรอบของงานนั้น ๆ
  • ให้ความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่า มีการจัดหาบุคลากรที่เหมาะสมและมีเครื่องมือที่เหมาะสม ในสถานที่ที่เหมาะสมกับงาน และสามารถจัดการได้ภายใต้กรอบเวลาของเป้าหมายตามที่กำหนด
  • ช่วยให้ผู้รับผิดชอบ หรือผู้จัดการโครงการ สามารถเฝ้าติดตามความก้าวหน้าของโครงการ และของงานตามที่ได้รับมอบหมาย ได้อย่างเป็นกระบวนการ

ซึ่งขั้นตอนข้างต้นนั้น สามารถใช้หลักการของ COBIT 5 ตามที่ได้กล่าวในตอนที่ 1 – 7 ได้ อย่างมั่นใจ

ตัวอย่าง Gantt – PERT Charts เบื้องต้นจะเป็นดังนี้ครับ

Example : Gantt Chart

 

 Example : PERT Chart

ทั้ง Gantt Chart และ PERT Chart มีโปรแกรมสำเร็จรูปแบบเป็นฟรีแวร์ สามารถดาวน์โหลดใช้งานโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เช่น โปรแกรม Open Project ซึ่งโปรแกรมนี้มีความสามารถครอบคลุมตั้งแต่เริ่มต้นการออกแบบโครงการ และสร้างโครงสร้างของงาน สามารถเพิ่มและจัดการกับงานหลัก และงานแยกย่อยต่าง ๆในโครงการนั้น ๆ รวมถึงการบริหารทรัพยากรที่ใช้อย่างถูกต้อง โดยผ่านการคำนวณพร้อมทั้งประเมินและสรุปความคืบหน้าของโครงการ จัดสรร วิเคราะห์ และวางแผนงาน (Schedule) ในโปรเจ็กต์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และรองรับไฟล์ Microsoft มีการตั้งเวลาให้กับโครงการ มีการแสดงในรูปแบบ Gantt Charts, Network Diagrams (PERT Charts), Work Breakdown Structure (WBS) and Resource Breakdown Structure (RBS) charts, Earned Value costing และอื่น ๆ ตามที่ต้องการ สำหรับโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการบริหารโครงการแบบเสียค่าใช้จ่าย มีให้เลือกหลากหลายในการใช้งาน เช่น PM Microsoft เป็นต้น

นอกจากนี้ การใช้ Gantt Chart และ PERT Chart ก็ยังมีรายละเอียดที่ต้องศึกษาและติดตาม และมีการทบทวนอย่างสม่ำเสมอตามสภาพแวดล้อมที่ได้เปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ดี โครงสร้างของหน่วยงานกำกับที่จะต้องมีการออกแบบให้เหมาะสม เพื่อใช้ในการกำกับดูแลโครงการ DE และติดตามการบริหารการจัดการโครงการ DE ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องนั้น จะต้องมีหลักการและกรอบการดำเนินงานที่ควรกำหนดเป็นนโยบาย DE อย่างชัดเจน ไม่กำกวมให้ต้องตีความที่อาจจะแตกต่างกันของบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้อง

DE ในตอนที่ 8 นี้ ผมจะมีคำถามชวนคิด ชวนไตร่ตรอง ที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการดำเนินงานที่สำคัญ ๆ และอาจเป็นจุดหักเหของความสำเร็จที่สามารถสร้างปัญหา และถ่วงเวลา ของแต่ละโครงการที่เกี่ยวข้องกับ DE อย่างบูรณาการที่แน่นอนว่า ยังจะใช้การบริหารโครงการที่มีแบบแผน ตาม Gantt Chart และ PERT Chart ที่มีความเข้าใจตรงกันของผู้ัที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการ DE นี้ ต้องการ “ผู้นำที่เข้าใจจริง” อย่างเป็นกระบวนการ ตั้งแต่ขั้นตอน Input – Process – Output ตามองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

ดังนั้น เราลองมาตั้งคำถาม เพื่อหาคำตอบ และจากคำตอบที่ได้รับจากผู้รู้จริง มาตั้งคำถามใหม่ และวนเวียนในลักษณะเช่นนี้ จนกว่าจะได้ข้อสรุปที่เป็นแนวทางในการก้าวเดินของการพัฒนาในการบริหารโครงการเศรษฐกิจดิจิตอล – DE ในบางมุมมองในบริบทที่เกี่ยวข้องดังนี้ครับ :-

1. มีหลักการของ Governance ที่มีคำจำกัดความใหม่ กระบวนการกำกับดูแลใหม่ ที่ทำให้มั่นใจได้ว่า ความต้องการ เงื่อนไข และทางเลือกของผู้มีส่วนได้เสียตามโครงการ DE ได้รับการประเมิน เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ที่รัฐบาลหรือประเทศต้องการ ให้บรรลุถึงความสมดุลและเห็นชอบร่วมกัน มีการกำหนดทิศทางผ่านการจัดลำดับความสำคัญและการตัดสินใจ และการเฝ้าติดตามผลการดำเนินงาน และการปฏิบัติตามเทียบกับวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนแล้ว

2. มีการบริหารจัดการที่ผู้บริหารได้วางแผน สร้าง ดำเนินงาน และเฝ้าติดตามกิจกรรมต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับทิศทางในการกำหนดโดยหน่วยงานกำกับดูแล (Governance Body) เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ

3. มีวิสัยทัศน์ของเศรษฐกิจดิจิตอล – DE ได้กำหนดไว้ชัดเจน และมีความเห็นตรงกันในบรรดาผู้กำกับ ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน ที่ใช้งานแล้วหรือยัง? และตามไปด้วยคำถามต่อเนื่อง

4. มีพันธกิจใดหรืองานใด ที่เกี่ยวข้องกับการก้าวไปสู่วิสัยทัศน์ทางด้าน DE ในทุกมิติ และบริบทที่เกี่ยวข้องกับ Mind Map เช่น

4.1. การตอบสนองความต้องการของผู้มีผลประโยชน์ร่วม โดยพิจารณาจาก

  • บริบททั่วไปทางด้าน – เศรษฐกิจ การเงิน การลงทุน การบริหารจัดการ การบริการ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมีการใช้ข้อมูลสารสนเทศที่ควรได้รับจากโครงการ Digital Economy ในการขับเคลื่อนและสนองตอบความต้องการของผู้มีผลประโยชน์ร่วม ในการสร้างคุณค่าเพิ่มเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ที่ควรจะมีความสัมพันธ์กับบริบททางด้านเทคโนโลยี โดยมีหลักการและวิธีการ รวมทั้งกระบวนการที่เหมาะสม?
  • บริบททางเทคโนโลยี – ปัจจัยด้านเทคโนโลยีที่มีผลต่อความสามารถของโครงการ DE ในการสร้างคุณค่าจากข้อมูลและสารสนเทศ หน่วยงานกำกับ ควรจจะกำหนดแนวทางพัฒนาทางด้าน จริยธรรมและคุณธรรมในเรื่องนี้อย่างไร?
  • บริบททางข้อมูล – ข้อมูลมีความถูกต้อง พร้อมใช้งาน เป็นปัจจุบัน และควรมีคุณภาพนั้น มีแนวทางใดที่หน่วยงานกำกับ ควรกำหนดทิศทาง และกรอบการดำเนินงานที่ชัดเจนในเรื่องนี้?
  • ทักษะ และความรู้ – ประสบการณ์ทั่วไป และทักษะด้านการวิเคราะห์ ด้านเทคนิค และด้านธุรกิจที่ควรปรับปรุง พัฒนา และอบรม เพื่อสร้างความเข้าสใจ ความรับผิดชอบ ในกิจกรรมและบทบาทที่เกี่ยวข้องกับตนของทุกหน่วยงาน?
  • บริบทด้านโครงสร้างการจัดองค์กรและวัฒนธรรม – ปัจจัยด้านการเมือง และองค์กร ชอบที่จะใช้ข้อมูลมากกว่าใช้สัญชาติญาณหรือไม่ และควรจะมีการปรับปรุงอย่างไร ใครควรจะเป็นเจ้าภาพ?
  • บริบทด้านกลยุทธ์ – วัตถุประสงค์ด้านกลยุทธ์ของ DE ควรมีการกำหนดแนวทางที่ชัดเจนอย่างไร และควรจะมีการกำหนดเหตุการณ์ที่ชัดเจนและมีผลต่อการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เมื่อใด?
  • การบริหาร DE ที่ได้ดุลยภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาวที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงและความคาดหวังที่แตกต่างกัน จะบรรลุผลลัพธ์ที่เป็นจริงได้อย่างไร?

– มีการส่งทอดความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้มีผลประโยชน์ร่วมไปยังเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของ DE

– มีขั้นตอนในการส่งทอดเป้าหมายของ DE ไปยังเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับ IT

– มีการกำหนดเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับ IT ที่ส่งทอดไปยังเป้าหมายของปัจจัยเอื้อที่ก่อให้เกิดความสำเร็จที่เกี่ยวข้อง

4.2. หลักการของ DE ที่ครอบคลุมวัตถุประสงค์ตามข้อ 4.1

  • ได้มีการพิจารณาหรือการกำกับดูแลและการบริหารจัดการสารสนเทศ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องที่ครอบคลุมโครงการ DE อย่างทั่วถึง
  • บูรณาการควบคุม กำกับดูแล IT ในมุมมองของ DE ในการควบคุมกำกับดูแลด้าน DE ในภาพรวมที่สามารถบูรณาการเข้ากับระบบการกำกับดูแลใด ๆ ที่สอดคล้องกับมุมมองล่าสุดของการกำกับดูแล คือ Governance ในมิติใหม่ ที่เน้นในวัตถุประสงค์ของการกำกับดูแลคือ การสร้างคุณค่าเพิ่มจากการกำหนดผลประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการ DE ควบคู่กับการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม และการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างได้ดุลยภาพ
  • มีการพิจารณาลักษณะงานที่ครอบคลุมหน้าที่งาน และกระบวนการทั้งหมดที่จำเป็นต้องกำกับดูแล บริหารจัดการด้านสารสนเทศ ในบริบทและมิติข้อ 4.1

4.3. มีการดำเนินงานที่บูรณาการเป็นหนึ่งเดียวที่เน้นในเรื่อง

  • ความสอดคล้องกับมาตรฐานและกรอบการดำเนินงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับโครงการ DE
  • มีการจัดสถาปัตยกรรมที่เรียบง่ายสำหรับการจัดโครงสร้างของข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง
  • บูรณาการองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่อยู่ในหลักการของ ISACA COBIT 5  ที่บูรณาการองค์ความรู้ทั้งหมดนี้เข้าด้วยกันในการจัดทำโครงการ DE

4.4. มีการพิจารณานำปัจจัยเอื้อที่ก่อให้เกิดความสำเร็จของโครงการ DE ซึ่งเน้นทางเรื่อง Governance ที่เป็นบทบาทของภาครัฐในการกำกับดูแลโครงการ DE ที่เกี่ยวข้องกับ IT ในภาพรวม ว่าจะต้องมีปัจจัยเอื้อที่ก่อให้เกิดความสำเร็จอะไรบ้าง เช่น

  • หลักการ นโยบาย และกรอบการดำเนินงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่นำไปสู่การแปลงพฤติกรรมที่คาดหวังให้เป็นแนวปฏิบัติได้จริงสำหรับการบริหารจัดการโครงการ DE
  • กระบวนการ อธิบายถึงกลุ่มของแนวปฏิบัติและกิจกรรมที่ใช้บรรลุวัตถุประสงค์บางประการ และให้ผลลัพธ์เพื่อสนับสนุนการบรรลุวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับ IT โดยรวมตามโครงการนี้
  • โครงสร้างการจัดองค์กร ระบุถึงหน่วยงานที่เป็นหลักในการตัดสินใจในโครงการ DE ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากที่เป็น Critical Path ไปสู่ความสำเร็จ
  • วัฒนธรรม จริยธรรม และพฤติกรรม ทั้งของแต่ละบุคคลและขององค์กรในหน่วยงานกำกับและการบริหารทุกโครงการ
  • สารสนเทศ ที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในทุกองค์กร ซึ่งรวมสารสนเทศทั้งที่เกิดจากและที่ใช้โดยองค์กรในโครงการ DE
  • บริการ โครงสร้างพื้นฐาน และระบบงาน รวมถึงโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี และระบบงานที่ใช้สำหรับการประมวลผลและบริการอื่น ๆ ด้านเทคโนโลยี
  • บุคลากร ทักษะ และศักยภาพ เชื่อมโยงกันเข้ากับตัวบุคคลและเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้กิจกรรมทั้งหมดสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และช่วยให้ตัดสินใจได้อย่างถูกต้องพร้อมทั้งดำเนินการแก้ไข

ปัจจัยเอื้อที่ก่อให้เกิดความสำเร็จทั้ง 7 นี้ มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและแยกจากกันไม่ได้ เพราะปัจจัยหนึ่งจะมีผลกระทบต่อปัจจัยเอื้ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม ในองค์กรส่วนใหญ่ ความเสี่ยงทางด้าน IT ในภาพรวม มักจะไม่ได้ระบุความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเอื้อที่ก่อให้เกิดความสำเร็จทั้ง 7 ตามที่ได้กล่าวข้างต้น ดังนั้น โครงการ DE ซึ่ง IT มีบทบาทสูงในทุกมิติ และทุกกระบวนการของการจัดการ หน่วยงานกำกับและผู้บริหาร ควรจะคำนึงถึงความเสี่ยงในการบรรลุเป้าหมายตามโครงการ DE จากปัจจัยเอื้อเหล่านี้ นอกเหนือจากความเสี่ยงอื่น ๆ ที่ทราบกันดีอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัจจัยเอื้อที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากร คือ การบริหารสารสนเทศ การบริการ โครงสร้างพื้นฐาน และระบบงาน ที่เกี่ยวข้องกับทักษะ และศักยภาพของบุคลากร

5. สรุป คำถามโดยย่อที่จะเกี่ยวพันกับ Mind Map ก็คือ

  • โครงการ DE ของรัฐบาลครั้งนี้ ผู้กำกับดูแลใช้หลักการ ใช้นโยบาย และวางกรอบในการกำกับดูแลและบริหารงานจากหลักเกณฑ์ใด? น่าเชื่อถือได้หรือไม่? เป็น Best Practice และหรือมาตรฐานใดในการพัฒนางาน
  • หากมี Best Practice หรือมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงในการพัฒนางานตามโครงการ DE ในครั้งนี้ Best Practice หรือมาตรฐานนั้น ได้ใช้กันอย่างแพร่หลายและเป็นที่ยอมรับในปัจจุบันเพียงไรในมุมมองหลัก ๆ ของ Governance และ Management
  • มีการพิจารณาปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสำเร็จ และ Critical Path ในลักษณะ Looking backward และ Looking foreward ที่ได้ Lesson Learned จากประสบการณ์ในอดีตว่าการวิเคราะห์ความเสี่ยงและการจัดการที่ดีในอนาคตอย่างไร
  • Mind Map ในกระบวนการใดที่ยังมีลักษณะเป็น Silo Based ที่มิใช่เป็นการบริหารแบบ Integrated Management/Integrated Thinking – Based อยู่ในกระบวนการของ DE หรือไม่
  • ปัจจัยเอื้อที่ก่อให้เกิดความสำเร็จที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร IT ตามโครงการ DE มีการนำไปใช้พิจารณา กำหนดกรอบในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับหลักการและนโยบาย ซึ่งเป็นภาพโดยรวมที่เป็น Key Sucess Factors ตามโครงการ DE เพียงใด
  • มีการสื่อสาร สร้างความเข้าใจในการให้คำจำกัดความของคำต่าง ๆ ที่ใช้ในโครงการ DE นี้ให้เป็นที่เข้าใจตรงกัน ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่
  • Data Flow, Information Flow, Process Flow, Business Flow และ Network ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลักการกำกับดูแลที่ดี / Governance ที่อัพเดตล่าสุด ที่ใช้ได้กับโครงการ DE โดยตรง ซึ่งมีผลต่อคำถามหลักโดยรวมตามที่กล่าวข้างต้น และจะมีคำถามตามมาจากคำตอบที่ได้รับอย่างเป็นระบบ จนกระทั่งมีคำตอบหรือ Solution ที่เหมาะสมของโครงการ DE นี้ และมีการสื่อสารและเป็นที่เข้าใจตรงกันในบทบาทและหน้าที่ที่หน่วยงานกำกับพึงกระทำนั้น ภาครัฐซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับมีความพึงพอใจในระดับการกำกับ ควบคุม ดูแล ที่ดีในระดับใด จาก 5 ระดับ
  • คำว่าการบริหารงานอย่างโปร่งใส มีความหมายและมีความเข้าใจในการนำไปปฏิบัติ ซึ่งใช้เป็นกรอบในการกำกับและการบริหารจัดการที่ดีนั้น ควรมีคำตอบและแนวทางจัดการเช่นใด (โปรดดู DE ตอนที่ 6 – 7 ในส่วนที่เกี่ยวข้องนะครับ)
  • นอกจากคำถามดังกล่าวข้างต้น หากผู้มีผลประโยชน์ร่วมเข้าใจตรงกัน จะนำหลักการ นโยบาย กรอบการดำเนินงานทางด้าน Governance ยุคใหม่ล่าสุดมาใช้ เพื่อผลสำเร็จตามโครงการ DE เพื่อความมั่นคง เพื่อความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน โดยใช้แนวความคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อการจัดการที่ดีนั่นคือ Systematic Thinking Approack ซึ่งประกอบไปด้วย 1. คิดให้ครบจนจบความ ครบถ้วน ด้วยการเริ่มต้นด้วยจุดสุดท้ายจนจบและเริ่มต้นใหม่ (Integrated Thinking) 2. คิดในภาพรวมทั้งหมด (System Thingking) 3. คิดให้ลึกเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking) 4. คิดให้กว้างอย่างสร้างสรรค์ (Creative Thinking) ก็จะได้คำถามใหม่ ๆ ที่สามารถสร้างประสิทธิภาพ ประสิทธิผลตามโครงการ DE ได้เป็นอย่างดีนะครับ

ภาพนิ่ง1

DE ในตอนที่ 7-8 นี้ เป็นกระบวนการสำคัญที่จะวัดผลสำเร็จในอนาคตว่า โครงการ DE จะสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับประเทศในบริบทและในมิติต่าง ๆ ตามนโยบาย และวัตถุประสงค์หลักของโครงการ DE นี้ได้ดีเพียงใด ทั้งนี้ หน่วยงานที่สำคัญหน่วยงานหนึ่งที่ควรจะจัดไว้ในโครงสร้างของ DE ก็คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประเมินคุณภาพและกระบวนการจัดการด้าน DE ว่าอยู่ในหลักการ อยู่ในนโยบาย อยู่ในกรอบการดำเนินงาน การกำกับดูแลที่ดีหรือไม่ เพียงใด ซึ่งผมได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้น ๆ ในระยะนี้ ผมได้ยินข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับการเขียนเศรษฐกิจดิจิตอล – Digital Economy ว่าการนำหลักการ COBIT 5 มาใช้ในระดับประเทศตามโครงการ DE นี้ จะได้ผลเพียงใด COBIT 5 น่าจะมีประโยชน์ต่อการพัฒนากระบวนการกำกับดูแล และการบริหารจัดการองค์กรในลักษณะบูรณาการ การดำเนินการทางธุรกิจ สำหรับการกำกับดูแล บริหารจัดการองค์กรเท่านั้น?

ข้อสังเกตข้างต้น เป็นข้อสังเกตที่ดี เป็นคำถามที่มีคุณค่า และผมดีใจที่ได้ยินคำถามและข้อสังเกตนี้  ผมใคร่ยืนยันว่าหลักการของ ISACA COBIT 5 ซึ่งให้แนวทางการบริหารจัดการองค์กรทั้งทางด้านธุรกิจ สำหรับการกำกับดูแลและการบริหารจัดการในุทกระดับของธุรกิจและทุกประเภทของธุรกิจ และทุกขนาดของธุรกิจ ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้กับการบริหารจัดการทุกโครงการของทุกองค์กรในระดับประเทศได้อย่างมั่นใจด้วยครับ ซึ่งหากมีโอกาสผมจะขยายความของการนำ COBIT5 มาใช้ และวิธีการนำมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม ภายใต้กรอบ Governance ที่มีหลักการและคำจำกัดความใหม่ล่าสุด และเป็นที่ยอมรับและประยุกต์ใช้แพร่หลายอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว โดยมีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ เพราะการพัฒนา COBIT 5 มีการศึกษาค้นคว้ามายาวนาน ระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้าน IT และผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจ จากาองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ครับ

นอกจากนี้ ผมได้อธิบายเพิ่มเติมในบางมุมมองเพื่อสร้างความเข้าใจในเวลาที่จำกัดให้มากขึ้น แต่ยังอยู่ภายใต้กรอบและหลักการของ COBIT 5 ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลและการบริหารกิจการทุกประเภท ทุกระดับ ที่ดี

อนึ่ง COBIT 5 ไม่ใช่สิ่งที่ตายตัว แต่เป็นการสนับสนุนในองค์กรนำกระบวนการกำกับดูแล และบริหารจัดการไปใช้ โดยครอบคลุมถึงหัวข้อหลักและมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ องค์กรสามารถจัดให้มีกระบวนการต่าง ๆ ตามที่เห็นว่าเหมาะสม ที่ครอบคลุมวัตถุประสงค์ขั้นพื้นฐานของการกำกับดูแลและการบริหารจัดการองค์กรขนาดเล็ก ใช้เพียงไม่กี่่ขบวนการ ในขณะที่องค์กรขนาดใหญ่หรือโครงการระดับประเทศที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อนกว่า อาจจำเป็นต้องมีกระบวนการมากมาย ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความเหมาะสมในแต่ละบริทและวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องเป็นสำคัญ